| ยางนา
| | | วันที่ 28 เมษายน 2560 |
| Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don |
|
ไม้ต้น ตายอดมีขนยาวหนาแน่น หูใบรูปใบหอก ยาวได้ถึง 10 ซม. ใบรูปรีหรือรูปไข่ ยาว 9–24 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนรูปลิ่มกว้าง กลม หรือเว้าตื้น เส้นแขนงใบข้างละ 12–20 เส้น ก้านใบยาว 2–6 ซม. ช่อดอกยาวได้ถึง 10 ซม. ช่อแยกแขนงยาว 3–7 ซม. มี 3–5 ดอก ก้านดอกยาวประมาณ 1 มม. หลอดกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 1 ซม. กลีบยาวยาว 1–1.5 ซม. กลีบสั้นยาวประมาณ 5 มม. กลีบดอกยาวประมาณ 3 ซม. ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม เกสรเพศผู้ 30 อัน อับเรณูยาวประมาณ 8 มม. หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลยาว 3–4 ซม. มี 5 สัน เป็นปีกกว้าง 0.5–1 ซม. ปีกยาวยาว 8–13 ซม. ปีกสั้นยาวประมาณ 1 ซม. ขอบพับกลับ
พบที่อินเดียรวมหมู่เกาะอันดามัน ศรีลังกา บังกลาเทศ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนยกเว้นเวียดนามตอนบน ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามที่ราบลุ่มริมลำธารหรือแม่น้ำในป่าดิบแล้ง ความสูงถึงประมาณ 500 เมตร
| ชื่อพ้อง Dipterocarpus philippinensis Foxw.
| | ชื่อสามัญ Yang
| ชื่ออื่น กาตีล (เขมร-ปราจีนบุรี); ขะยาง (ชาวบน-นครราชสีมา); จ้อง (กะเหรี่ยง); จะเตียล (เขมร); ชันนา (ชุมพร); ทองหลัก (ละว้า); ยาง (ทั่วไป); ยางกุง (เลย); ยางขาว (ทั่วไป); ยางควาย (หนองคาย); ยางตัง (ชุมพร); ยางนา (ทั่วไป); ยางเนิน (จันทบุรี); ยางแม่น้ำ, ยางหยวก (ทั่วไป); ราลอย (ส่วย-สุรินทร์); ลอย (โซ่-นครพนม)
| | ยางนา: ตายอดมีขนหนาแน่น โคนใบเว้าตื้น หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลมีสันครีบคล้ายปีก 5 สัน (ภาพ: ปิยชาติ ไตรสารศรี, ปรีชา การะเกตุ)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Ashton, P. (1982). Dipterocarpaceae. In Flora Malesiana Vol. 9: 291–326. |
| Li, X.W., J. Li and P.S. Ashton. (2007). Dipterocarpaceae in Flora of China Vol. 13: 48–49. |
| Pooma, R. and M. Newman. (2001). Checklist of Dipterocarpaceae in Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 29: 119–140. |
| Smitinand, T., J.E. Vidal and P.H. Hô. (1990). Dipterocarpaceae. Flore du Cambodge, du Laos et du Vietnam 25: 16–45. |