| | Davallia trichomanoides Blume var. lorrainii (Hance) Holttum |
|
เฟินอิงอาศัย เหง้าเส้นผ่านศูนย์กลาง 3–5 มม. เกล็ดคอดเหนือโคนเรียวยาวคล้ายหาง ขอบมีขนยาว ใบประกอบรูปสามเหลี่ยมมน เรียวแคบ ยาว 10–35 ซม. ก้านใบยาวได้ถึง 10 ซม. ก้านใบประกอบย่อยแต่ละชั้นมีก้านสั้น ๆ ช่วงโคน ช่วงปลายไร้ก้าน ใบประกอบย่อยยาวได้ถึง 19 ซม. แต่ส่วนมากยาวประมาณ 10 ซม. ใบประกอบย่อยที่สามยาว 2–7 ซม. ใบย่อยยาว 0.5–2.5 ซม. ปลายแหลมมน ขอบเว้าหรือจักตื้น ๆ ไม่มีเส้นใบแซม เนื้อใบแข็ง กลุ่มอับสปอร์ติดที่ปลายเส้น แขนงใบ เยื่อคลุมรูปถ้วย ยาวประมาณ 2 มม.
พบที่พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามโขดหินหรืิอต้นไม้ที่มีมอสเกาะ ในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ความสูง 800–1400 เมตร ส่วน var. trichomanoides เกล็ดเรียวแคบจากโคน ปลายแหลมยาว เกลี้ยงหรือมีขนสั้น ๆ ตามขอบ ใบย่อยจักลึกเกินกึ่งหนึ่ง ในไทยพบกระจายห่าง ๆ ทางภาคเหนือและภาคใต้ เหง้าใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
| ชื่อพ้อง Davallia lorrainii Hance
| | | | | นาคราชเกล็ดน้ำตาล: ใบประกอบรูปสามเหลี่ยมมน ก้านใบประกอบย่อยแต่ละชั้นมีก้านสั้น ๆ ช่วงโคน ช่วงปลายไร้ก้าน ใบย่อยขอบเว้าหรือจักตื้น ๆ (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Lindsay, S. and D.J. Middleton. (2012 onwards). Ferns of Thailand, Laos and Cambodia. http://rbg-web2.rbge.org.uk/thaiferns/ |
| Tagawa, M. and K. Iwatsuki. (1985). Davalliaceae. In Flora of Thailand Vol. 3(2): 157–164. |
| Xing, F., W. Faguo and H.P. Nooteboom. (2013). Davalliaceae. In Flora of China Vol. 2–3: 752–754. |