กกมีเหง้า ลำต้นรูปสามเหลี่ยม สูง 1–5 ม. ใบลดรูปเป็นกาบ วงใบประดับมีได้ถึง 12 อัน ยาวไม่เท่ากัน อันยาว ยาว 5–10 ซม. ช่อดอกออกเดี่ยว ๆ หรือแยกแขนงกว้าง เส้นผ่านศูนย์กลาง 20–35 ซม. ช่อแยกแขนงจำนวนมาก ยาวเท่า ๆ กัน ยาว 10–30 ซม. ช่อแขนงย่อยรองยาวประมาณ 2 ซม. ช่อกระจุกไร้ก้าน ช่อเชิงลดรูปทรงกระบอก ยาว 1–3 ซม. ช่อย่อยรูปแถบ ยาว 0.6–1.2 ซม. แกนมีปีกแคบ ๆ กาบสีน้ำตาล มี 5–17 อัน รูปรีหรือรูปไข่ ยาว 2–2.5 มม. ปลายมน แกนกลางเป็นสันสีเขียว เกสรเพศผู้ 3 อัน ยอดเกสรเพศเมีย 3 อัน ผลรูปไข่แกมสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 1 มม. ผิวเรียบ (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ กกรังกา, สกุล)
มีถิ่นกำเนิดในประเทศเแถบแอฟริกาตะวันออก เป็นไม้น้ำประดับทั่วไปในเขตร้อน โดยเฉพาะสายพันธุ์แคระ C. papyrus ‘Nanus’ ซึ่งส่วนมากสูงไม่เกิน 1 เมตร ชาวอียิปต์ในสมัยโบราณนำมาทำเป็นกระดาษเรียกว่า papyrus paper
|