Index to botanical names
Fabaceae
ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. ใบประกอบมีใบย่อย 1–2 คู่ ก้านใบประกอบยาว 3–5 มม. ใบย่อยรูปรี รูปขอบขนาน หรือเกือบกลม ยาว 5–20 ซม. ถ้ามีใบย่อย 2 คู่ คู่ล่างขนาดเล็ก ปลายแหลมหรือแหลมยาว ก้านใบย่อยสั้น ช่อดอกยาว 1.5–2.5 ซม. ใบประดับรูปขอบขนาน ยาว 0.3–1 ซม. ใบประดับย่อยยาว 3–4 มม. ก้านดอกยาว 0.7–1.5 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ยาวไม่เท่ากัน ยาว 3–4 มม. กลีบดอกรูปใบหอก ยาว 5–8 มม. เกสรเพศผู้มีประมาณ 10 อัน รังไข่มีขนสั้นนุ่ม มีก้านสั้น ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 มม. ผลรูปรีหรือรูปไข่ ยาว 2–5 ซม. มีจะงอยใกล้ปลายผล ผิวย่นพบที่อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ขึ้นตามชายป่าโกงกางหรือป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 400 เมตร มักพบปลูกตามวัดอาจเข้าใจว่าเป็นต้นโสก Saraca indica L. เปลือกและรากมีสรรพคุณเป็นยาระบาย ใบต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัสตามผิวหนัง
ชื่ออื่น พังคะ (ภาคกลาง, ภาคใต้); พังค่า (ตรัง); มะคะ (ภาคกลาง, ภาคใต้); มะคาก (ภาคใต้); มังคะ (ภาคกลาง, ภาคใต้); แมงคะ (ตราด)
มะคะ: ใบประกอบส่วนมากมีคู่เดียว ถ้ามีใบย่อย 2 คู่ คู่ล่างขนาดเล็ก ก้านใบประกอบสั้น แผ่นใบเบี้ยว ผลผิวย่น ปลายมีจะงอย (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)
Larsen, K., S.S. Larsen and J.E. Vidal. (1984). Leguminosae-Caesalpinioideae. In Flora of Thailand Vol. 4(1): 48–49.