| | Cyathea latebrosa (Wall. ex Hook.) Copel. |
|
เฟินขึ้นบนดิน ลำต้นตั้งตรง สูง 2–6 ม. โคนต้นมีรากสานกันแน่น ยอดมีเกล็ดสีน้ำตาลคล้ำ ใบประกอบ 2 ชั้น แผ่นใบกว้าง 50–150 ซม. ยาว 100–250 ซม. ก้านใบยาว 30–40 ซม. มีหนามสั้น ๆ โคนมีเกล็ดรูปแถบ ยาวประมาณ 2 ซม. ใบประกอบย่อยมี 15–25 คู่ กว้าง 15–25 ซม. ยาว 30–70 ซม. คู่ล่างยาวไม่เกิน 10 ซม. ใบย่อยมี 20–30 คู่ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 1.5–2 ซม. ยาว 7–10 ซม. ขอบจักเป็นพูลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ รูปแถบ ยาวประมาณ 1 ซม. เบี้ยว ขอบจักซี่ฟัน ไร้ก้าน เส้นกลางใบและเส้นกลางพูด้านบนมีขน ด้านล่างเกลี้ยง มีเกล็ดสีน้ำตาล กลุ่มอับสปอร์กลม เรียงเป็นแถวสองข้างของเส้นกลางพู ขอบจัก
พบที่ไห่หนาน กัมพูชา คาบสมุทรมลายู สุมาตรา และบอร์เนียว ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าพรุ ความสูงถึงประมาณ 1000 เมตร
| ชื่อพ้อง Alsophila latebrosa Wall. ex Hook.
| | | ชื่ออื่น กลาคีรี (มาเลย์-นราธิวาส);
กูดต้น (ภาคเหนือ); กูดพร้าว (เชียงใหม่); มหาสดำ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)
| | กูดต้น: ใบประกอบ 2 ชั้น ใบย่อยจักเป็นพูลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ยอดมีเกล็ดสีน้ำตาลคล้ำ กลุ่มอับสปอร์เรียงเป็นแถวสองข้างของเส้นกลางพู (ภาพ: ผาทิพย์ ช่วยเนียม)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Lindsay, S. and D.J. Middleton. (2012 onwards). Ferns of Thailand, Laos and Cambodia. http://rbg-web2.rbge.org.uk/thaiferns/ |
| Tagawa, M. and K. Iwatsuki. (1979). Cyatheaceae. In Flora of Thailand 3(1): 101–107. |
| Xianchun, Z. and H. Nishida. (2013). Cyatheaceae (Alsophila). In Flora of China Vol. 2–3: 134–136. |