| | Croton stellatopilosus H.Ohba |
|
ไม้พุ่ม อาจสูงได้ถึง 6 ม. แตกกิ่งต่ำ มีขนสั้นนุ่มตามกิ่งอ่อน หูใบ ดอก ใบอ่อน หูใบยาว 3–4 มม. ใบเรียงเวียนหนาแน่นที่ปลายกิ่ง รูปรีถึงรูปใบหอก ยาว 6–18 ซม. โคนเรียวสอบมน ขอบใบจักฟันเลื่อยห่าง ๆ ต่อมติดที่โคนใกล้ก้านใบ ก้านใบยาว 0.5–2.5 ซม. ช่อดอกยาว 7–10 ซม. ดอกเพศเมียมี 4–10 ดอก มักบานก่อนหรือติดเป็นผลช่วงดอกเพศผู้บาน ใบประดับยาว 1.5–2 มม. ไม่มีต่อม ดอกเพศผู้ก้านดอกยาว 2–6 มม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 2.5 มม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ดอกเพศเมียก้านดอกยาว 4–6 มม. กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 3 มม. ไม่มีกลีบดอก ก้านเกสรเพศเมียแยกกัน ยอดเกสรยาวประมาณ 3 มม. ผลรูปรีกว้าง กว้างประมาณ 6 มม. ยาวประมาณ 5 มม.
พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นตามป่าดิบแล้ง ความสูงถึงประมาณ 500 เมตร ใบมีสารเปลาโนทอล มีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ได้รับการผลิตเป็นยาภายใต้ชื่อ ‘Kelnac’ เคยเข้าใจว่าชื่อวิทยาศาสตร์คือ C. sublyratus Kurz ซึ่งพบเฉพาะในเอเชียใต้
| | | | ชื่ออื่น เปล้าท่าโพ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้); เปล้าน้อย (ปราจีนบุรี, ประจวบคีรีขันธ์)
| | เปล้าน้อย: C. stellatopilosus ใบเรียงเวียนหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ขอบจักฟันเลื่อยห่าง ๆ ดอกเพศเมียมักบานก่อนหรือติดเป็นผลช่วงดอกเพศผู้บาน ผลรูปรีกว้าง (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Esser, H.-J.(2017). The correct name of Croton roxburghii N.P.Balakr., nom. Illeg. (Euphorbiaceae). Thai Forest Bulletin (Botany) 45(1): 25–28. |
| Esser, H.-J. (2005). Euphorbiaceae (Croton). In Flora of Thailand Vol. 8(1): 189–226. |
| Esser, H.-J. (2002). Croton poomae (Euphorbiaceae), a new species from Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 30: 1. |
| Esser, H.-J. and K. Chayamarit. (2001). Two new species and a new name in Thai Croton (Euphorbiaceae). Thai Forest Bulletin (Botany) 29: 55–56. |