สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   

เต่าร้างยักษ์
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559

Caryota obtusa Griff.

Arecaceae

ดูที่ เต่าร้างยักษ์ภูคา

เต่าร้างยักษ์น่าน
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559

Caryota obtusa Griff.

Arecaceae

ดูที่ เต่าร้างยักษ์ภูคา



เต่าร้างยักษ์ภูคา
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559

Caryota obtusa Griff.

Arecaceae

ปาล์มลำต้นเดี่ยวขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 40 ม. โคนต้นมีรากพิเศษหนาแน่น ลำต้นเส้นผ่านศูนย์กลาง 50–90 ซม. ช่วงกลางป่อง ก้านใบยาว 0.5–2 ม. แกนกลางใบประกอบยาว 4–6 ม. ใบแผ่กว้างคล้ายหางปลา ใบประกอบย่อยข้างละ 18–24 ใบ ใบประกอบย่อยชั้นที่สองข้างละ 20–27 ใบ ใบย่อยปลายจักแหลม ยาว 20–35 ซม. ช่อดอกห้อยลง ก้านช่อยาว 0.5–1 ม. แกนกลางยาว 2.5–4 ม. ช่อย่อยจำนวนมาก ยาว 1.2–3 ม. ดอกเพศผู้กลีบดอกยาวประมาณ 1.5 ซม. ดอกเพศเมียกลีบดอกยาวประมาณ 8 มม. ผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5–3 ซม. สุกสีแดง ส่วนมากมี 2 เมล็ด เนื้อในเมล็ดเป็นชั้น

พบที่อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ลาว เวียดนาม ในไทยพบที่ดอยภูคา จังหวัดน่าน ขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ และพบกระจายห่าง ๆ ที่เชียงราย พะเยา และอุตรดิตถ์ ขึ้นตามที่สูงชันในป่าดิบเขา ความสูง 1200–1600 เมตร

ชื่อพ้อง  Caryota gigas Hahn ex Hodel

ชื่อสามัญ  Giant mountain fishtail palm, Thai giant Caryota

ชื่ออื่น   จึก (กะเหรี่ยง-น่าน); เต่าร้างยักษ์, เต่าร้างยักษ์น่าน, เต่าร้างยักษ์ภูคา (ทั่วไป)

เต่าร้างยักษ์ภูคา: ปาล์มลำต้นเดี่ยวขนาดใหญ่ ป่องช่วงกลาง ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น แผ่กว้างคล้ายหางปลา ช่อดอกห้อยลง (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)

เอกสารอ้างอิง

Barfod, A.S. and J. Dransfield. (2013). Arecaceae. In Flora of Thailand Vol. 11(3): 387–391.

Pei, S., S. Chen, G. Lixiu, J. Dransfield and A. Henderson. (2010). Arecaceae. In Flora of China Vol. 23: 150–151.

จึก
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559

Caryota obtusa Griff.

Arecaceae

ดูที่ เต่าร้างยักษ์ภูคา