Index to botanical names
Arecaceae
ปาล์มแตกกอ สูงได้ถึง 10 ม. ลำต้นเส้นผ่านศูนย์กลางโตได้ถึง 20 ซม. ก้านใบยาว 0.8–2 ม. แกนกลางใบประกอบยาว 2–2.8 ม. ใบประกอบย่อยข้างละ 10–23 ใบ ใบประกอบย่อยชั้นที่สองข้างละ 10–20 ใบ ใบย่อยรูปสามเหลี่ยมเรียวแหลม ปลายจัก ยาว 20–30 ซม. บางครั้งแฉกลึกจรดโคน 2–3 แฉก คล้ายหางปลา ช่อดอกโค้งลง ยาวได้ถึง 85 ซม. แกนช่อยาว 20–65 ซม. ช่อย่อยจำนวนมาก ดอกเพศผู้กลีบดอกยาว 1.2–1.5 ซม. ดอกเพศเมียกลีบดอกยาว 4–5 มม. ผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 1–2 ซม. สุกสีม่วงดำ ส่วนมากมีเมล็ดเดียว เนื้อในเมล็ดเป็นชั้นพบที่อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น หรือป่าเสื่อมโทรม และเป็นไม้ประดับ เปลือกผลทำให้ระคายเคือง เส้นใยกาบประคบแผลสดห้ามเลือด
ชื่อสามัญ Fishtail palm, Wart fishtail palm
ชื่ออื่น เขืองหมู่ (ภาคเหนือ); งือเด็ง (มาเบย์-นราธิวาส); เต่าร้าง (ทั่วไป); เต่าร้างแดง (นครศรีธรรมราช); มะเด็ง ยะลา)
เต่าร้าง: ช่อดอกแยกแขนง ผลสุกสีม่วงดำ (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Barfod, A.S. and J. Dransfield. (2013). Arecaceae. In Flora of Thailand Vol. 11(3): 387–391.
Pei, S., S. Chen, G. Lixiu, J. Dransfield and A. Henderson. (2010). Arecaceae. In Flora of China Vol. 23: 150–151.