Index to botanical names
Capparaceae
ไม้พุ่มหรือรอเลื้อย มีหนามตรง ยาว 2–4 มม. ใบรูปขอบขนาน รูปใบหอก หรือแกมรูปไข่ ยาว 10–30 ซม. โคนมนหรือกลม แผ่นใบหนา ก้านใบยาว 1–2 ซม. ช่อดอกออกสั้น ๆ ตามซอกใบด้านบน มี 2–7 ดอก มีหนาม 1–4 อัน ระหว่างก้านดอกและก้านใบ ก้านดอกยาว 0.6–2 ซม. มีขนสั้นนุ่ม กลีบเลี้ยงรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 0.6–1 ซม. ขอบมีขนครุย ดอกสีขาว กลีบคู่บนมีสีเหลืองหรือมีสีม่วงแซม รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 1–2 ซม. ปลายกลีบกลม โคนเรียวแคบ ก้านชูอับเรณูยาว 1.5–2.5 ซม. รังไข่เกลี้ยง ก้านชูเกสรเพศเมียยาว 1.5–3 ซม. เกลี้ยง ผลรูปกลมหรือรี ยาว 3–7 ซม. ผนังหนาสีส้มแดง มีริ้วตื้น ๆ หรือเรียบ ก้านผลยาว 3.5–4 ซม. เมล็ดจำนวนมาก รูปไต ยาวประมาณ 7 มม. สีแดงเข้มพบที่อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และชายป่าดิบชื้น ความสูง 100–500 เมตร น้ำสกัดจากรากแก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ ลดไข้
ชื่อสามัญ Caper thorn
ชื่ออื่น กระดาดขาว (ภาคกลาง); กระดาดป่า (ชลบุรี); กระโรกใหญ่ (ภาคกลาง); ค้อนกลอง (เพชรบูรณ์); ค้อนฆ้อง (สระบุรี); จิงโจ้ (ภาคกลาง); ชายชู้ (ชัยภูมิ); ชิงชี่ (ภาคกลาง); ซิซอ (ปราจีนบุรี); พญาจอมปลวก (ภาคกลาง); พวงมาระดอ, เม็งซอ (ปัตตานี); ราม (สงขลา); แสมซอ (ภาคกลาง); แส้ม้าทลาย, หนวดแมวแดง (เชียงใหม่); หมากมก (ชัยภูมิ)
ชิงชี่: ช่อดอกออกสั้น ๆ ตามซอกใบด้านบน ดอกสีขาว กลีบคู่บนมีสีเหลืองหรือม่วงแซม ผลรูปกลมหรือรี ผนังหนาสีส้มแดง (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Chayamarit, K. (1991). Capparaceae. In Flora of Thailand Vol. 5(3): 241–259.
Zhang, M. and G.C. Tucker. (2008). Capparaceae. In Flora of China Vol. 7: 440.