สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   

กล้วยเล็บมือนาง
วันที่ 31 กรกฎาคม 2560

Burmannia coelestis D.Don

Burmanniaceae

ดูที่ สรัสจันทร

กล้วยมือนาง
วันที่ 31 กรกฎาคม 2560

Burmannia coelestis D.Don

Burmanniaceae

ดูที่ สรัสจันทร

ดอกดิน
วันที่ 31 กรกฎาคม 2560

Burmannia coelestis D.Don

Burmanniaceae

ดูที่ สรัสจันทร



สรัสจันทร
วันที่ 31 กรกฎาคม 2560

Burmannia coelestis D.Don

Burmanniaceae

ไม้ล้มลุก มีใบแต่อาศัยเชื้อราเพื่อการเจริญเติบโตบางส่วน ต้นที่มีดอกสูงได้ถึง 40 ซม. ลำต้นสีเขียว ใบออกที่โคนต้นหรือบนต้น รูปแถบ ยาว 0.5–3 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกตามยอด มี 1–8 ดอก ใบประดับรูปใบหอก ยาว 3–6 มม. ดอกยาว 1–1.5 ซม. หลอดกลีบสีน้ำเงิน ยาว 0.5–1.3 ซม. มี 3 ปีก กว้าง 1.5–3 มม. กลีบรวมสีเหลืองอ่อน รูปสามเหลี่ยม วงนอกยาว 1–2 มม. ขอบซ้อน ติดทน วงกลีบในยาว 0.5–1 มม. อับเรณูปลายมีรยางค์เป็นสัน 2 สัน โคนมีเดือย รังไข่ยาว 3–7 มม. ยอดเกสรเพศเมียยาว 3–7 มม. ผลแห้งแตก รูปไข่กลับ (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ หญ้าข้าวก่ำ, สกุล)

พบที่อินเดีย บังกลาเทศ เนปาล พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ออสเตรเลีย ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามที่โล่งที่ชื้นแฉะ ความสูงถึงประมาณ 800 เมตร เป็นหนึ่งในพรรณไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพระราชทานชื่อไทย

ชื่ออื่น   กล้วยมือนาง (ชุมพร); กล้วยเล็บมือนาง (ภาคใต้); ดอกดิน, สรัสจันทร (ภาคกลาง); หญ้าหนวดเสือ (สุราษฎร์ธานี)

สรัสจันทร: ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกตามยอด หลอดกลีบสีน้ำเงิน มี 3 ปีก กลีบรวมสีเหลืองอ่อน วงนอกขอบซ้อน (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)

เอกสารอ้างอิง

Wu, D., D. Zhang and R.M.K. Saunders. (2010). Burmanniaceae. In Flora of China Vol. 23: 122.

หญ้าหนวดเสือ
วันที่ 31 กรกฎาคม 2560

Burmannia coelestis D.Don

Burmanniaceae

ดูที่ สรัสจันทร