ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. ใบรูปฝ่ามือ มีใบย่อย 5–7 ใบ ก้านใบยาว 10–20 ซม. รูปขอบขนานถึงรูปใบหอก ขนาดไม่เท่ากัน ยาว 8–15 ซม. ก้านใบย่อยสั้น หรือยาวได้ถึง 4 ซม. ก้านดอกยาว 0.5–1 ซม. กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ยาว 2–3 ซม. ด้านนอกมีขนคล้ายไหม กลีบ 3–5 กลีบ รูปรีกว้าง ยาวประมาณ 1.5 ซม. ดอกสีแดงอมส้มหรือเหลือง กลีบรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ยาว 5–10 ซม. แผ่นกลีบค่อนข้างหนา มีขนรูปดาวละเอียดทั้งสองด้าน เกสรเพศผู้ยาว 3.5–7 ซม. เรียง 2 วง วงนอก 5 มัด วงใน 5 มัด ก้านเกสรเพศเมียยาว 8–8.5 ซม. ผลรูปรีถึงรูปขอบขนาน ยาว 8–15 ซม. มีขนรูปดาวกระจาย
อาจมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อนหรือในเอเชียจนถึงออสเตรเลียตอนบน ในไทยพบมากตามท้องไร่ท้องนาทุกภาค หรือปลูกเป็นไม้เศรษฐกิจ ทุกส่วนมีสรรพคุณด้านสมุนไพรหลายอย่าง
|
|
|
ชื่อสามัญ Cotton tree, Kapok tree
|
ชื่ออื่น งิ้ว (ทั่วไป); งิ้วแดง (กาญจนบุรี); งิ้วบ้าน (ทั่วไป); งิ้วปง, งิ้วปงแดง, สะเน้มระกา (ชอง-จันทบุรี)
|
|
งิ้ว: ดอกสีแดง กลีบเลี้ยงรูปถ้วย เกสรเพศผู้เรียง 2 วง วงนอก 5 มัด วงใน 5 มัด ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 5 แฉก (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)
|
|