| ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 3 ม. มีขนสั้นนุ่มตามกิ่ง แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ และตาดอก หูใบรูปแถบ ยาว 0.5–1 ซม. ใบกว้างกว่าด้านยาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 3–8 ซม. แฉกลึกเกือบกึ่งหนึ่ง ปลายแฉกกลม เส้นโคนใบข้างละ 3–4 เส้น ก้านใบยาว 1–3 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจะออกสั้น ๆ ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกยาวประมาณ 1 ซม. ใบประดับย่อยติดใต้กึ่งกลางก้านดอก ตาดอกรูปกระสวย ยาวประมาณ 2 ซม. ฐานดอกสั้น ดอกห้อยลงรูประฆัง สีเหลืองหรือสีม่วงอมชมพู มี 1 กลีบมีปื้นสีม่วงเข้มที่โคนกลีบด้านใน กลีบรูปไข่กลับ ยาว 4–5 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาว 1–2 ซม. โคนก้านชูอับเรณูมีขน รังไข่มีขนยาว ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1.5 ซม. ฝักรูปแถบ ยาว 7–15 ซม. มีขนกำมะหยี่ ปลายเป็นจะงอย แตกอ้าออกบิดงอ
เข้าใจว่ามีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน ซึ่งอาจเป็นอินเดีย เป็นไม้ประดับทั่วไปในเขตร้อน เปลือกให้น้ำฝาดแก้บิด ตับอักเสบ
| | | ชื่อสามัญ Yellow Bauhinia
| | | ชงโคดอกเหลือง: ดอกห้อยลงรูประฆัง กลีบดอกมี 1 กลีบมีปื้นสีม่วงเข้มที่โคนกลีบด้านใน (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Boonkerd, T., S. Saengmanee and B.R. Baum. (2004). The varieties of Bauhinia pottsii G. Don in Thailand (Leguminosae-Caesalpinioideae). Plant Systematics and Evolution 232: 51–62. |
| Brummitt, R.K., A.C. Chikuni, J.M. Lock and R.M. Polhill. (2007). Leguminosae subfamily Caesalpinioideae. Flora of Zimbabwe 3(2): 25–26. |
| Larsen, K., S.S. Larsen and J.E. Vidal. (1984). Leguminosae-Caesalpinioideae. In Flora of Thailand Vol. 4(1): 4–45. |
| Mackinder, B.A. and R. Clark. (2014). A synopsis of the Asian and Australasian genus Phanera Lour. (Cercideae: Caesalpinioideae: Leguminosae) including 19 new combinations. Phytotaxa 166(1): 49–68. |