| | Bauhinia pottsii G.Don var. pottsii |
|
ไม้พุ่มรอเลื้อย มีขนสีน้ำตาลแดงตามกิ่ง แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ ตาดอก และฝัก ใบรูปไข่กว้างเกือบกลม ยาว 9–15 ซม. แฉกลึกถึงประมาณกึ่งหนึ่ง ปลายแฉกกลม เส้นโคนใบข้างละ 5–7 เส้น ก้านใบยาว 3–4 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ยาวได้ถึง 10 ซม. ก้านดอกยาว 1–1.5 ซม. ใบประดับย่อยติดประมาณกึ่งกลางก้านดอก ตาดอกรูปใบหอก ยาว 3–4 ซม. ฐานดอกยาวเท่า ๆ ตาดอก กลีบเลี้ยงพับงอกลับ ดอกสีแดงอมชมพู มีปื้นสีเหลืองตรงกลาง กลีบรูปใบหอก ยาว 4–6 ซม. เกสรเพศผู้ 3 อัน ยาว 3–4.5 ซม. เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันมี 2 อัน รังไข่และก้านเกสรเพศเมียมีขนยาวสีน้ำตาลแดง ฝักแบน หนา ช่วงปลายกว้าง มีจะงอยสั้น ๆ มี 4–6 เมล็ด
พบที่พม่า คาบสมุทรมลายู สุมาตรา และภาคใต้ของไทยที่นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สตูล และนราธิวาส ขึ้นตามชายป่าดิบชื้นระดับต่ำ ๆ สีของดอกมีความผันแปรสูง แยกเป็นกลุ่มดอกสีส้มอมเหลือง ชงโคไฟ var. velutina (Wall. ex Benth.) K.Larsen & S.S.Larsen และ var. mollissima (Wall. ex Prain) K.Larsen & S.S.Larsen และกลุ่มดอกสีขาว ชงโคขาว var. subsessilis (Craib) de Wit และ var. decipiens (Craib) K.Larsen & S.S.Larsen ซึ่งแต่ละพันธุ์ในกลุ่มคล้ายกัน ยากในการจำแนก โดยเฉพาะ var. decipiens ที่พบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพบ var. subsessilis กระจายหนาแน่นด้วยเช่นกัน
| | | | ชื่ออื่น ชงโคดำ (ตรัง); ชิงโค (ระนอง, สุราษฎร์ธานี)
| | ชงโคดำ: กลีบดอกมีปื้นสีเหลืองตรงกลาง เกสรเพศผู้ 3 อัน เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 2 อัน (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Boonkerd, T., S. Saengmanee and B.R. Baum. (2004). The varieties of Bauhinia pottsii G. Don in Thailand (Leguminosae-Caesalpinioideae). Plant Systematics and Evolution 232: 51–62. |
| Brummitt, R.K., A.C. Chikuni, J.M. Lock and R.M. Polhill. (2007). Leguminosae subfamily Caesalpinioideae. Flora of Zimbabwe 3(2): 25–26. |
| Larsen, K., S.S. Larsen and J.E. Vidal. (1984). Leguminosae-Caesalpinioideae. In Flora of Thailand Vol. 4(1): 4–45. |
| Mackinder, B.A. and R. Clark. (2014). A synopsis of the Asian and Australasian genus Phanera Lour. (Cercideae: Caesalpinioideae: Leguminosae) including 19 new combinations. Phytotaxa 166(1): 49–68. |