สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   

เห็ดหิน
วันที่ 30 พฤษภาคม 2559

Balanophora fungosa J.R.Forst. & G.Forst.

Balanophoraceae

ดูที่ กากหมากตาฤาษี

กกหมากพาสี
วันที่ 30 พฤษภาคม 2559

Balanophora fungosa J.R.Forst. & G.Forst.

Balanophoraceae

ดูที่ กากหมากตาฤาษี



กากหมากตาฤาษี
วันที่ 30 พฤษภาคม 2559

Balanophora fungosa J.R.Forst. & G.Forst.

Balanophoraceae

ไม้ล้มลุกกินซาก แยกเพศต่างต้น หัวใต้ดินออกเดี่ยว ๆ หรือแยกแขนงจำนวนมาก กลม ๆ ผิวมีตุ่มรูปดาวกระจาย ใบเรียงเวียน เรียงซ้อนเหลื่อม 10–20 ใบ ช่อดอกเพศผู้รูปรีกว้าง ยาวได้ถึง 12 ซม. ใบประดับคล้ายกาบรูปรีกว้าง ปลายตัด ยาวประมาณ 5 มม. ก้านดอกย่อยยาว 0.7–1 ซม. กลีบรวมมี 4–5 กลีบ รูปรีแกมรูปใบหอก ยาว 3–7 มม. เกสรเพศผู้ 4–5 อัน คล้ายรูปเกือกม้า ช่อดอกเพศเมียรูปรีหรือรูปไข่กลับ มักมีขนาดเล็กกว่าช่อดอกเพศผู้ ยาวได้ถึง 6 ซม.

พบที่อินเดีย ไห่หนาน ไต้หวัน ญี่ปุ่น ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก ความสูงถึงประมาณ 2000 เมตร มีความผันแปรสูง บางครั้งแยกเป็น 2 ชนิดย่อยตามลักษณะหัวใต้ดินและช่อดอก ยางเหนียวจากหัวใต้ดินใช้ทำกับดักนก ใช้เป็นคบไฟ

ชื่ออื่น   กกหมากพาสี (เชียงใหม่); กากหมากตาฤๅษี (ตราด); ขนุนดิน (ทั่วไป); ดอกกฤษณารากไม้ (ประจวบคีรีขันธ์); บัวผุด (ชุมพร); ว่านดอกดิน (สระบุรี); เห็ดหิน (เลย)

กากหมากตาฤๅษี: ช่อดอกเพศผู้มี 3 ดอก ขนาดใหญ่กว่าช่อดอกเพศเมีย ใบประดับคล้ายกาบ (ภาพ: Hans Bänziger)

เอกสารอ้างอิง

Hansen, B. (1972). Balanophoraceae. In Flora of Thailand Vol. 2(2): 177–181.

Perry, L.M. (1980). Medicinal plants of East and Southeast Asia. Massachusetts Institute of Technology.

ขนุนดิน
วันที่ 30 พฤษภาคม 2559

Balanophora fungosa J.R.Forst. & G.Forst.

Balanophoraceae

ดูที่ กากหมากตาฤาษี

ดอกกฤษณารากไม้
วันที่ 30 พฤษภาคม 2559

Balanophora fungosa J.R.Forst. & G.Forst.

Balanophoraceae

ดูที่ กากหมากตาฤาษี

บัวผุด
วันที่ 30 พฤษภาคม 2559

Balanophora fungosa J.R.Forst. & G.Forst.

Balanophoraceae

ดูที่ กากหมากตาฤาษี

ว่านดอกดิน
วันที่ 30 พฤษภาคม 2559

Balanophora fungosa J.R.Forst. & G.Forst.

Balanophoraceae

ดูที่ กากหมากตาฤาษี