Index to botanical names
Saxifragaceae
ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 2.5 ม. มีเหง้า มีขนยาวและขนต่อมสีน้ำตาลหนาแน่นตามลำต้น เส้นแขนงใบด้านล่าง แกนใบ และช่อดอก หูใบบาง ติดที่โคนก้านใบ ยาวได้ถึง 2 ซม. ปลายแยก 2 แฉก รูปสามเหลี่ยม ยาว 4–6 มม. ใบประกอบมี 3 ใบย่อย 2–3 ชั้น เรียงเวียน ก้านใบประกอบยาว 15–40 ซม. ใบย่อยรูปไข่ รูปไข่กลับ หรือรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ยาว 4–14.5 ซม. ปลายแหลมยาว โคนกลมหรือเว้าตื้น ขอบจัก แผ่นใบด้านบนมีขนแข็งประปราย ก้านใบย่อยไร้ก้านหรือยาวได้ถึง 2 ซม. ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกที่ยอด ยาวได้ถึง 40 ซม. ใบประดับ 3 อัน ยาวประมาณ 2 มม. ขอบจัก ดอกสีขาวหรือสีแดง ก้านดอกยาว 1–2 มม. ใบประดับย่อยขนาดเล็ก กลีบเลี้ยง 4–5 กลีบ รูปไข่ ยาว 1–2 มม. ส่วนใหญ่ไม่มีกลีบดอก หรือมี 1–2 กลีบ ขนาดเล็ก เกสรเพศผู้ 5–12 อัน ก้านชูอับเรณูยาว 2–3 มม. อับเรณูกลม มี 2 คาร์เพล เชื่อมติดกันที่โคน พลาเซนตารอบแกนร่วม ก้านเกสรเพศเมียสั้น กางออก ผลแห้งแตก กางออก ยาว 4–5 มม. เมล็ดขนาดเล็ก จำนวนมากพบที่อินเดีย ภูฏาน เนปาล จีนตอนใต้ พม่า ลาว และเวียดนาม ในไทยพบทางภาคเหนือที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นตามที่โล่งชายป่าดิบเขาสูง ความสูง 2400–2500 เมตร รากมีสรรพคุณแก้ท้องเสีย บิด และโรคไขข้อ ใบสดเคี้ยวแก้ปวดฟันสกุล Astilbe มีประมาณ 18 ชนิด พบในอเมริกาเหนือและเอเชีย ในไทยมีชนิดเดียว ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “a” ไม่มี และ “stilbe” เป็นมันวาว ตามลักษณะดอกและใบ
อัสดง: มีขนยาวและขนต่อมหนาแน่น ใบประกอบ 2–3 ชั้น มี 3 ใบย่อย ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกที่ยอด กลีบเลี้ยง 4–5 กลีบ ไม่มีกลีบดอก ผลแห้งแตก กางออก (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา, ปรีชา การะเกตุ, สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)
Larsen, K. (2002). Saxifragaceae. In Flora of Thailand Vol. 7(4): 915–920.
Pan, J.T. and H. Ohba. (2001). Saxifragaceae (Astilbe). In Flora of China Vol. 8: 247, 276.