สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   

ปากาฮูแต
วันที่ 30 มกราคม 2560

Asplenium longissimum Blume

Aspleniaceae

ดูที่ ผักกูดดำ

ปากูฮีแต
วันที่ 30 มกราคม 2560

Asplenium longissimum Blume

Aspleniaceae

ดูที่ ผักกูดดำ



ผักกูดดำ
วันที่ 30 มกราคม 2560

Asplenium longissimum Blume

Aspleniaceae

เฟินขึ้นบนพื้นดินหรืออิงอาศัย ลำต้นเป็นเหง้าสั้น ๆ ตั้งขึ้น เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มม. ยอดอ่อนมีเกล็ดสีน้ำตาลดำหนาแน่น ใบประกอบ มักห้อยลง ยาว 1–2 ม. ก้านใบสีม่วงคล้ำเป็นร่อง ยาวได้ถึง 20 ซม. ใบย่อยส่วนมากมี 30–50 คู่ ใบคู่ล่างอยู่ใกล้เหง้า ห่างไม่เกิน 3 ซม. ยาว 8–10 ซม. กว้าง 1.5–2 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนเบี้ยว เว้าเป็นติ่ง ขอบจักซี่ฟันตื้น ๆ แผ่นใบด้านล่างมีเกล็ดสีดำรูป 3 แฉกกระจาย ก้านสั้นหรือไร้ก้าน กลุ่มอับสปอร์สีน้ำตาลเรียงตัวเป็นแนวใกล้เส้นแขนงใบ ยาวประมาณ 1 ซม. มีเยื่อคลุม

พบที่กัมพูชา เวียดนาม คาบสมุทรมลายู บอร์เนียว ชวา สุมาตรา และภาคใต้ของไทยที่นครศรีธรรมราช ยะลา นราธิวาส ขึ้นตามป่าดิบชื้น ความสูงระดับต่ำ ๆ

สกุล Asplenium L. มีมากกว่า 700 ชนิด ในไทยมีเกือบ 40 ชนิด หลายชนิดมีสรรพคุณด้านสมุนไพร ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “asplenon” เฟินที่มีสรรพคุณด้านสมุนไพร

ชื่ออื่น   ปากาฮูแต, ปากูฮีแต (มาเลย์-นราธิวาส); ผักกูดดำ (นราธิวาส)

ผักกูดดำ: ใบห้อยลง คู่ล่างอยู่ใกล้เหง้า ก้านใบสีม่วงคล้ำ กลุ่มอับสปอร์เรียงตามเส้นแขนงใบ (ภาพ: ผาทิพย์ ช่วยเนียม)

เอกสารอ้างอิง

Lindsay, S. and D.J. Middleton. (2012 onwards). Ferns of Thailand, Laos and Cambodia. http://rbg-web2.rbge.org.uk/thaiferns/

Tagawa, M. and K. Iwatsuki. (1985). Aspleniaceae. In Flora of Thailand 3(2): 281–282.