| ไม้เถาล้มลุก ไม้เถาเนื้อแข็ง หรือไม้พุ่มทอดนอน ไม่มีหูใบ ใบเรียงเวียน เรียบ จัก 3 พู หรือรูปฝ่ามือ ช่อดอกแบบช่อกระจะ ช่อกระจุกหรือช่อแยกแขนง บางครั้งมีดอกเดียว ออกตามซอกใบ ปลายกิ่ง ตามกิ่ง หรือเถา ก้านดอกเชื่อมติดรังไข่ กลีบรวมเชื่อมติดกัน โคนเป็นกระเปาะ ส่วนมากกลม คอดเรียวเป็นหลอด มักงอขึ้น ปลายกลีบบานออก เกสรเพศผู้ 6 อัน แนบติดก้านเกสรเพศเมียเป็นเส้าเกสร รังไข่ใต้วงกลีบ มี 6 ช่อง ส่วนมากรูปทรงกระบอก มี 6 สัน ยอดเกสรเพศเมียมี 3 หรือ 6 พู ผลแตกตามรอยประสานจากโคนสู่ปลาย โคนก้านและปลายติดกันคล้ายกระเช้า เมล็ดจำนวนมาก แบน มีปีกหรือไม่มี ส่วนมากมีตุ่มกระจายด้านเดียวหรือสองด้าน
สกุล Aristolochia มีประมาณ 500 ชนิด พบในเขตร้อน ในไทยมีพืชพื้นเมือง 22 ชนิด และเป็นไม้ประดับประมาณ 5 ชนิด ผลมีสาร Aristolochic acid มีพิษสูง มีการนำรากของพืชสกุลกระเช้าสีดาหลายชนิดมาขายเป็นสมุนไพรลดน้ำหนักในชื่อ ไคร้เครือ ใบหลายชนิดเป็นอาหารหนอนผีเสื้อ ชื่อกระเช้าสีดาเป็นชื่อที่ใช้เรียก A. indica L. ของอินเดียและศรีลังกา มีนำเข้ามาปลูกบ้างในไทยแต่ไม่แพร่หลายมากนัก ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “aristos” ดีที่สุด และ “locheia” การกำเนิด หมายถึงพืชที่ี่มีสรรพคุณด้านสมุนไพรช่วยให้คลอดง่าย
| | | | | | |
|
เอกสารอ้างอิง | Do, T., C. Neinhuis and S. Wanke. (2014). New synonym of Aristolochia cambodiana Pierre ex Lecomte. Thai Forest Bulletin (Botany) 42: 96–99. |
| Do, T., C. Neinhuis, S. Wanke and R. Pooma. (2015). Aristolochia phuphathanaphongiana: a new species from southwestern Thailand. Nordic Journal of Botany 33: 567–571. doi 10.1111/njb.00889 |
| Phuphathanaphong, L. (1987). Aristolochiaceae. In Flora of Thailand Vol. 5(1): 1–31. |
| Phuphathanaphong, L. (2006). New taxa of Aristolochia (Aristolochiaceae) from Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 34: 179–194. |