สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   



เต่าร้างหนู
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559

Arenga caudata (Lour.) H.E.Moore

Arecaceae

ปาล์มขนาดเล็กแตกกอ สูงได้ถึง 2 ม. ลำต้นเส้นผ่านศูนย์กลางโตได้ถึง 2 ซม. ใบมีประมาณ 10 ใบ เรียงเวียน ใบประกอบแบบขนนก ก้านใบประกอบยาว 30–60 ซม. ใบย่อยเรียงห่าง ๆ มี 4–10 ใบ รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด โคนเรียวแคบ ยาว 20–80 ซม. ปลายจักไม่เป็นระเบียบ แผ่นใบด้านล่างมีนวลสีเงินอมเทา ช่อดอกแบบช่อเชิงลด มี 2–3 ช่อ ออกตามซอกใบใกล้โคน ยาว 25–30 ซม. โค้งลง ช่วงปลายส่วนมากเป็นช่อดอกเพศเมีย พบน้อยที่แตกแขนง ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1–1.5 ซม. ผลแก่สีส้มอมแดง

พบที่พม่า ไห่หนาน ภูมิภาคอินโดจีน และคาบสมุทรมลายู ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น เขาหินปูนที่ชุ่มชื้น ความสูงถึงประมาณ 700 เมตร

ชื่อพ้อง  Borassus caudatum Lour.

ชื่ออื่น   ตาล (ชลบุรี, ภาคกลาง); ตาลไก้ (เลย); ตาลรั้ง (จันทบุรี); เต่าร้างหนู (จันทบุรี, ภาคใต้)

เต่าร้างหนู: ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยเรียงห่าง ๆ รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด โคนเรียวแคบ ปลายจักไม่เป็นระเบียบ ช่อผลโค้งลง (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)

เอกสารอ้างอิง

Pongsattayapipat, R. (2013). Arecaceae. In Flora of Thailand Vol. 11(3): 333–337.

ตาล
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559

Arenga caudata (Lour.) H.E.Moore

Arecaceae

ดูที่ เต่าร้างหนู

ตาลไก้
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559

Arenga caudata (Lour.) H.E.Moore

Arecaceae

ดูที่ เต่าร้างหนู

ตาลรั้ง
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559

Arenga caudata (Lour.) H.E.Moore

Arecaceae

ดูที่ เต่าร้างหนู