| กระบาก สกุล
| | | วันที่ 31 มีนาคม 2559 |
| |
ไม้ต้นขนาดใหญ่ โคนต้นมีพูพอน เปลือกในเรียงเป็นชั้น ชันใส หูใบรูปใบหอก ร่วงเร็ว ใบเรียงเวียน เส้นแขนงใบมักเรียงจรดกันเป็นเส้นขอบใน ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบคู่นอกยาวและแคบกว่า 3 กลีบในเล็กน้อย เรียงซ้อนเหลื่อมที่โคน ดอกสีครีมหรือสีขาว มี 5 กลีบ ร่วงแยกกัน เกสรเพศผู้ส่วนมากมี 15–40 อัน เรียง 3 วง ก้านชูอับเรณูสั้น รูปเส้นด้าย อับเรณูคู่ในสั้นกว่าคู่นอก แกนอับเรณูมีรยางค์เป็นติ่งสั้น ๆ หรือรูปเส้นด้าย รังไข่กึ่งใต้วงกลีบ ฐานก้านยอดเกสรเพศเมีย (stylopobium) รูปทรงกระบอกหรือคล้ายจาน ก้านเกสรเพศเมียแยก 3 แฉก หรือยอดเกสรจัก 3 พู ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว ปลายมีติ่ง หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มเกือบทั้งผล กลีบเลี้ยงขยายเป็นปีกยาว 2 ปีก มีเส้นปีก 3 เส้น ปีกสั้น 3 ปีก โคนเรียงจรดกัน
สกุล Anisoptera อยู่ภายใต้เผ่า Dipterocarpeae ที่โคนกลีบเลี้ยงในผลเรียงจรดกัน แยกเป็น sect. Anisoptera (กระบาก และกระบากทอง) และ sect. Glabrae (กระบากแดง และช้าม่วง) ตามความยาวของรยางค์ที่แกนอับเรณู ก้านและฐานก้านเกสรเพศเมีย มีประมาณ 10 ชนิด พบที่บังกลาเทศ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ในไทยมี 4 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “anisos” ไม่เท่ากัน และ “pteros” ปีก ตามลักษณะของปีกที่ไม่เท่ากัน
| | | | | | |
|
เอกสารอ้างอิง | Ashton, P.S.
Pooma, R. and M. Newman. (2001). Checklist of Dipterocarpaceae in Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 29: 112-116. (1982). Dipterocarpaceae. In Flora Malesiana Vol. 9: 327–337. |
| Pooma, R. and M. Newman. (2001). Checklist of Dipterocarpaceae in Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 29: 112–116. |
| Smitinand, T., J.E. Vidal and P.H. Hô. (1990). Dipterocarpaceae. Flore du Cambodge, du Laos et du Vietnam 25: 11–16. |