สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   

เครือกิ่วคา
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560

Amalocalyx microlobus Pierre ex Spire

Apocynaceae

ดูที่ หยั่งสมุทร

เครือข้าวนึ่ง
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560

Amalocalyx microlobus Pierre ex Spire

Apocynaceae

ดูที่ หยั่งสมุทร

แตงเถื่อน
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560

Amalocalyx microlobus Pierre ex Spire

Apocynaceae

ดูที่ หยั่งสมุทร

มะคะแนง
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560

Amalocalyx microlobus Pierre ex Spire

Apocynaceae

ดูที่ หยั่งสมุทร

มะจินดา
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560

Amalocalyx microlobus Pierre ex Spire

Apocynaceae

ดูที่ หยั่งสมุทร

ส้มเสี้ยน
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560

Amalocalyx microlobus Pierre ex Spire

Apocynaceae

ดูที่ หยั่งสมุทร

ส้มจินดา
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560

Amalocalyx microlobus Pierre ex Spire

Apocynaceae

ดูที่ หยั่งสมุทร

ส้มจี
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560

Amalocalyx microlobus Pierre ex Spire

Apocynaceae

ดูที่ หยั่งสมุทร

ส้มป่อง
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560

Amalocalyx microlobus Pierre ex Spire

Apocynaceae

ดูที่ หยั่งสมุทร

ส้มมะแง่ง
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560

Amalocalyx microlobus Pierre ex Spire

Apocynaceae

ดูที่ หยั่งสมุทร



หยั่งสมุทร
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560

Amalocalyx microlobus Pierre ex Spire

Apocynaceae

ไม้เถา น้ำยางสีขาว กิ่งมีขนสั้นนุ่มและขนสาก กิ่งแก่เกลี้ยง เป็นคอร์ก ใบเรียงตรงข้าม รูปไข่กลับ ยาว 3.5–24 ซม. ปลายแหลมยาวหรือยาวคล้ายหาง แผ่นใบมีขนละเอียดทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 0.8–4 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุก ยาว 9–25 ซม. ดอกหนาแน่นช่วงปลายช่อ กลีบเลี้ยงรูปรีหรือรูปแถบ ยาว 0.5–1 ซม. มีต่อมที่โคนด้านใน ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ดอกรูปแตร สีขาวอมม่วงหรือชมพู ด้านในมีสีเข้ม เรียงซ้อนทับด้านขวาในตาดอก หลอดกลีบดอกยาว 2–3 ซม. มี 5 กลีบ รูปรีกว้าง ยาว 3–6 มม. เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดใต้กึ่งกลางหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูสั้นมาก อับเรณูยาว 5–6 มม. จานฐานดอกเป็นวง สูงกว่ารังไข่ มี 2 คาร์เพล ปลายเชื่อมติดกันเป็นก้านเกสรเพศเมียยาว 1.5–2.2 ซม. รวมยอดเกสร ผลแตกแนวเดียวออกเป็นคู่ โคนและปลายเชื่อมติดกัน ยาว 6–9 ซม. แต่ละฝักกว้าง 1.6–1.8 ซม. ผนังผลเป็นคอร์ก เป็นสัน มีขนสั้นนุ่ม เมล็ดยาวประมาณ 1 ซม. ปลายมีกระจุกขนยาวประมาณ 4 ซม.

พบที่จีนตอนใต้ พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบกระจายทั่วไป ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามชายป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง หรือบนเขาหินปูน ความสูง 100–1300 เมตร

สกุล Amalocalyx Pierre มีชนิดเดียว ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “amalos” นุ่ม และ “kalyx” กลีบเลี้ยง ตามลักษณะของกลีบเลี้ยงที่มีขนสั้นนุ่ม

ชื่ออื่น   เครือกิ่วคา, เครือข้าวนึ่ง, หยั่งสมุทร (เชียงใหม่); แตงเถื่อน (เชียงราย); มะคะแนง, มะจินดา, ส้มจินดา, ส้มจี, ส้มป่อง, ส้มมะแง่ง, ส้มเสี้ยน (ภาคเหนือ)

หยั่งสมุทร: ช่อดอกแบบช่อกระจุก ดอกหนาแน่นช่วงปลายช่อ ดอกรูปแตร มีสีเข้มด้านใน ผลเป็นฝักแตกแนวเดียว ออกเป็นคู่ โคนและปลายเชื่อมติดกัน (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)

เอกสารอ้างอิง

Li, B., A.J.M. Leeuwenberg and D.J. Middleton. (1995). Apocynaceae. In Flora of China Vol. 16: 172.

Middleton, D.J. (1999). Apocynaceae. In Flora of Thailand Vol. 7(1): 126–127.