Index to botanical names
Pteridaceae
เฟินขึ้นบนดิน เหง้าหนา เกล็ดรูปรีสีน้ำตาลดำ ขอบบาง ยาวประมาณ 4 ซม. ใบประกอบปลายคี่ รูปขอบขนาน ยาวได้ถึง 4 ม. รวมก้านใบที่ยาวได้ถึง 1 ม. ใบย่อยช่วงโคนมักลดรูปคล้ายหนาม ใบย่อยรูปแถบ ยาว 30–50 ซม. ปลายกลมหรือมน ปลายมีติ่งแหลม โคนเรียวสอบถึงกลม ก้านใบสั้นหรือยาวได้ถึง 2.5 ซม. เส้นกลางใบมีริ้ว ช่องร่างแหเรียงเป็นระเบียบ ยอดอ่อนสีแดง ใบที่มีสปอร์อยู่ช่วงปลายต้น ขนาดเล็กกว่าใบช่วงล่าง กลุ่มอับสปอร์กระจายทั่วแผ่นใบด้านล่าง มีต่อม (paraphyses) เป็นตุ่ม ปลายจักเป็นพู พบในเขตร้อน ในไทยพบแถบพื้นที่ที่น้ำทะเลท่วมถึง และชายป่าโกงกาง ใบอ่อนกินเป็นผักสด รากมีสรรพคุณเป็นยาปฏิชีวนะสกุล Acrostichum L. มี 3 ชนิด พบในเขตร้อน ขึ้นตามพื้นที่น้ำทะเลท่วมถึง ในไทยมี 2 ชนิด อีกชนิดคือ A. speciosum Willd. ต้นเล็กกว่า เกล็ดที่เหง้าขนาดใหญ่กว่า ปลายใบแหลมยาว โคนเรียวแคบ ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “akros” ปลายหรือยอด และ “stichos” แถว หมายถึงใบช่วงปลายใบประกอบที่สร้างสปอร์
ชื่อสามัญ Golden leather fern, Mangrove fern
ชื่ออื่น ปรงไข่, ปรงทอง, ปรงทะเล (ภาคกลาง); ปีโย (มาเลย์-สตูล)
ปรงทะเล: ใบประกอบปลายคี่ ใบช่วงปลายลำต้นที่สร้างสปอร์ กลุ่มสปอร์เรียงกระจายทั่วแผ่นใบด้านล่าง (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Lindsay, S. and D.J. Middleton. (2012 onwards). Ferns of Thailand, Laos and Cambodia. http://rbg-web2.rbge.org.uk/thaiferns/