Index to botanical names
Fabaceae
ไม้เถา หูใบรูปใบหอก ยาว 5–7 มม. ใบประกอบมีใบย่อย 4–7 คู่ ก้านใบยาว 2–3 ซม. ใบย่อยรูปขอบขนานหรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 3.2–4.5 ซม. ปลายมนหรือเป็นติ่งแหลม โคนเบี้ยวหรือรูปหัวใจ แผ่นใบด้านล่างมีขนสีขาวประปราย ก้านใบยาว 1–1.5 มม. มีขนหนาแน่น ช่อดอกยาว 4–9 ซม. ดอกรูปเคียว สีชมพูอมม่วง กลีบกลางสีขาว รูปรี ยาว 1.2–1.3 ซม. ปลายเว้าตื้น กลีบปีกและกลีบคู่ล่างสั้นกว่ากลีบปาก มีรยางค์เป็นติ่ง โคนเรียวสอบ คอดคล้ายก้านกลีบ รังไข่และก้านเกสรเพศเมียมีขนหนาแน่น ฝักรูปขอบขนาน ยาว 4–8 ซม. มี 4–12 เมล็ด รูปรี แบนเล็กน้อย สีน้ำตาลดำพบที่อินเดีย เนปาล ภูฏาน บังกลาเทศ ศรีลังกา จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าดิบชื้น และป่าดิบแล้ง ความสูงระดับต่ำ ๆ แยกเป็น subsp. cantoniensis (Hance) Verdc. และ subsp. mollis (Hance) Verdc. ตามสิ่งปกคลุม ขนาดใบ โคนใบ และความยาวของฝัก
ชื่อสามัญ Liquorice root
ชื่ออื่น คอกิ่ว (จันทบุรี); แปบฝาง, มะกล่ำตาหนู, มะกล่ำเผือก (เชียงใหม่); มะขามป่า (จันทบุรี); มะขามย่าน (ตรัง)
มะกล่ำเผือก: ใบประกอบมีใบย่อย 4–7 คู่ กลีบดอกสีชมพูอมม่วง กลีบกลางสีขาว ปลายเว้า อับเรณูสีเหลือง ฝักแบน ปลายมีจะงอย (ภาพ: รัมภ์รดา มีบุญญา)
Bao, B. and M. Gilbert. (2010). Fabaceae (Abrus). In Flora of China Vol. 10: 194.
Verdcourt, B. (1979). A manual of New Guinea legumes. Botany Bulletin 11: 515–529.