Index to botanical names
Boraginaceae
ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 2 ม. กิ่งมีริ้ว ใบเรียงเวียนชิดกันที่ปลายกิ่ง เรียงห่าง ๆ ช่วงโคนกิ่ง รูปขอบขนานหรือรูปใบหอกกลับ ยาว 0.5–3 ซม. ปลายมน ปลายมีติ่งแหลม แผ่นใบหนา ขอบเรียบหรือจักซี่ฟัน มีขนแข็งเอนประปราย ก้านใบยาว 0.5–4 มม. ช่อแบบช่อกระจุกสั้น ๆ ที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อมในตาดอก กลีบรูปสามเหลี่ยมแคบ ยาว 4–5 มม. ปลายแหลมยาว ติดทน ด้านนอกมีขน ดอกสีชมพู หลอดกลีบดอกสั้น มี 5 กลีบ รูปรีกว้าง ยาว 6–7 มม. เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดภายในหลอดกลีบดอก อับเรณูหันเข้า ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก รังไข่มี 4 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลเม็ดเดียว ยอดเกสรเพศเมียจัก 2 พู รูปคล้ายโล่ ผลผนังชั้นในแข็ง รูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 4–5 มม. สุกสีแดงเป็นมันวาว มี 4 ไพรีนพบที่อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า เวียดนาม ภูมิภาคมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นตามโขดหินริมลำธารในป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ความสูง 50–300 เมตร มีสรรพคุณใช้รักษานิ่ว แก้ไอ โรคหัวใจ และโรคทางประสาทสกุล Rotula Lour. เคยอยู่ภายใต้วงศ์ Ehretiaceae มี 3 ชนิด พบในอเมริกาใต้ แอฟริกา และเอเชียเขตร้อน ในไทยมีเพียงชนิดเดียว ชื่อสกุลเป็นภาษาละตินหมายถึงกงล้อขนาดเล็กตามลักษณะดอก
ชื่ออื่น ไคร้หางนาค (ชุมพร, ภาคกลาง); ตะลีที้เด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); มะน้อดน้ำ (เชียงใหม่); หางนาค (ภาคเหนือ, ภาคกลาง)
ไคร้หางนาค: ใบเรียงเวียนชิดกันที่ปลายกิ่ง ช่อแบบช่อกระจุกสั้น ๆ ที่ปลายกิ่ง ผลสุกสีแดงเป็นมันวาว กลีบเลี้ยงติดทน (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)
van Welzen, P.C. (2007). Euphorbiaceae. In Flora of Thailand Vol. 8(2): 537.
Zhu, G., H. Riedl and R.V. Kamelin. (1995). Boraginaceae. In Flora of China Vol. 16: 337.