Index to botanical names
Euphorbiaceae
ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 2 ม. รากอวบหนา มีขนสั้นนุ่มตามกิ่ง แผ่นใบทั้งสองด้าน ก้านใบ ช่อดอก ก้านดอก กลีบเลี้ยงด้านนอก รังไข่ และผล ใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 5.5–12 ซม. โคนมน ขอบเป็นต่อมคล้ายจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว 0.8–2 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ยาว 9–14 ซม. ดอกสีแดงเลือดนก จานฐานดอกรูปวงแหวน ดอกเพศผู้ก้านดอกยาว 1–2 มม. กลีบเลี้ยงรูปไข่กลับ ยาว 2–3 มม. กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ยาว 4–5 มม. เกสรเพศผู้ 3 อัน ดอกเพศเมียก้านดอกยาว 0.8–1.5 ซม. ขยายในผลยาว 1.5–3.5 ซม. กลีบเลี้ยงรูปขอบขนาน ยาว 2–5 มม. กลีบดอกรูปไข่กลับ ยาว 4–5 มม. ผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 1–1.5 ซม.พบที่ภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบแทบทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง หรือที่โล่งแห้งแล้ง ความสูงถึงประมาณ 1100 เมตร รากมีฤทธิ์ทำให้อาเจียนสำหรับบรรเทาอาการโรคหืด
ชื่อพ้อง Baliospermum reidioides Kurz
ชื่ออื่น ข้าวเย็นเนิน, ทะนงแดง (ประจวบคีรีขันธ์); ดู่เตี้ย, ดู่เบี้ย (เพชรบุรี); ทะนง, รักทะนง (นครราชสีมา); นางแซง (อุบลราชธานี); โลดทะนง (ปราจีนบุรี, ราชบุรี, ตราด); โลดทะนงแดง (บุรีรัมย์); หนาดคำ (ภาคเหนือ); หัวยาข้าวเย็นเนิน (ราชบุรี)
โลดทะนง: ดอกสีแดงเลือดนก จานฐานดอกรูปวงแหวน ก้านเกสรเพศเมีย 3 อัน รังไข่และผลมีขนสั้นนุ่ม ผลจัก 3 พู กลีบเลี้ยงติดทน (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ, ราชันย์ ภู่มา)
Chantaranothai, P. (2007). Euphorbiaceae (Trigonostemon). In Flora of Thailand Vol. 8(2): 573–585.
Li, B. and M.G. Gilbert. (2008). Euphorbiaceae (Trigonostemon). In Flora of China Vol. 11: 272–274.