| ไม้ล้มลุก อาจสูงได้ถึง 1.5 ม. ลำต้นส่วนมากเกลี้ยง ใบรูปขอบขนาน รูปใบหอก หรือรูปแถบ ยาว 3–7 ซม. ก้านใบสั้น ปลายแหลม โคนกลม เส้นโคนใบข้างละ 1–3 เส้น แผ่นใบมีขนสั้นนุ่มหนาแน่นทั้งสองด้าน ดอกออกเป็นกระจุก มี 1–3 ดอก หรืออาจมีได้ถึง 10 ดอก กลีบดอกและกลีบเลี้ยงจำนวนอย่างละ 4 กลีบ ฐานดอกยาว 3–7 มม. เกลี้ยงหรือมีขนประปราย หรือมีขนแข็งระหว่างกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลมยาว ยาว 6–7 มม. กลีบดอกยาว 1.2–1.7 ซม. เกสรเพศผู้ 8 อัน อับเรณูยาว 4–7 มม. ปลายมีจะงอยสั้น ๆ รังไข่ยาวเท่า ๆ หรือสั้นกว่าฐานดอก ปลายมีขนแข็ง ผลรูประฆังหรือรูปคนโท ยาว 3–8 มม.
พบที่จีนตอนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิวกินี และออสเตรเลีย ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามที่โล่ง ทุ่งหญ้า ที่ราบหรือสันเขา ความสูงถึงประมาณ 1600 เมตร มีความผันแปรสูง ใน Flora of China แยกเป็น var. angustifolia (D.Don) C.Y.Wu & C. Chen ฐานดอกมีขนแข็งหนาแน่นกว่า รากเคี้ยวแก้ปวดฟัน ท้องเสีย และรักษาแผลในสัตว์เลี้ยง
| | | | ชื่ออื่น หญ้าพลองขน (ชุมพร); อ้าน้อย (เชียงใหม่); เอ็นอ้า (ปราจีนบุรี); เอ็นอ้าน้อย (อุบลราชธานี)
| | เอนอ้าน้อย: ลำต้นเกลี้ยง ใบรูปแถบ ดอกออกเป็นกระจุก มี 1–3 ดอก กลีบดอก 4 กลีบ ฐานดอกเกลี้ยง กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลมยาว เกสรเพศผู้ 8 อัน (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Chen, J. and S.S. Renner. (2007). Melastomataceae. In Flora of China Vol. 13: 361–363. |
| Hansen, C. (1977). Contributions to the flora of Asia and the Pacific region: the Asiatic species of Osbeckia (Melastomataceae). Ginkgoana 4: 1–150. |
| Renner, S.S., G. Clausing, N. Cellinese and K. Meyer. (2001). Melastomataceae. In Flora of Thailand Vol. 7(3): 450–455. |