| | Osbeckia setoso-annulata Geddes |
|
ไม้ล้มลุก สูง 20–70 ซม. ลำต้นบางครั้งเกลี้ยง ใบรูปรีหรือรูปไข่ ยาว 1–6 ซม. ปลายและโคนแหลม เส้นโคนใบข้างละ 1–2 เส้น แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนประปราย ก้านใบยาว 2–3 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจุก มีได้ถึง 10 ดอก กลีบดอกและกลีบเลี้ยงจำนวนอย่างละ 4 กลีบ ฐานดอกยาวประมาณ 5 มม. มีติ่งขนเรียง 3–4 วง กลีบเลี้ยงรูปไข่ ยาว 4–6 มม. กลีบดอกยาว 0.7–1 ซม. เกสรเพศผู้ 8 อัน อับเรณูยาว 3–4 มม. ปลายเป็นจะงอยสั้น ๆ รังไข่สั้นกว่าฐานดอก ปลายมีขนแข็งตามแนวประสาน ผลรูปคนโท ยาว 7–8 มม.
พบที่พม่า และลาว ในไทยพบกระจายห่าง ๆ ทางภาคเหนือตอนล่างที่ตาก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่กาญจนบุรี ขึ้นตามที่โล่งบนเขาหินปูน ความสูง 200–300 เมตร
| | | | ชื่ออื่น เอนอ้าขนแข็ง, เอ็นอ้าวิเชียร (ทั่วไป)
| | เอนอ้าขนแข็ง: ช่อดอกแบบช่อกระจุก กลีบดอก 4 กลีบ ฐานดอกมีติ่งขนเรียง 3–4 วง เกสรเพศผู้ 8 อัน ผลรูปคนโท (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Chen, J. and S.S. Renner. (2007). Melastomataceae. In Flora of China Vol. 13: 361–363. |
| Hansen, C. (1977). Contributions to the flora of Asia and the Pacific region: the Asiatic species of Osbeckia (Melastomataceae). Ginkgoana 4: 1–150. |
| Renner, S.S., G. Clausing, N. Cellinese and K. Meyer. (2001). Melastomataceae. In Flora of Thailand Vol. 7(3): 450–455. |