| | Adiantum flabellulatum L. |
|
เฟินมีเหง้าสั้น ๆ บางครั้งเกาะเลื้อย เกล็ดสีน้ำตาล รูปแถบ ยาว 4–8 มม. ใบจำนวนมาก รูปคล้ายตีนเป็ดหรือแบบขนนกสามชั้น ยาวได้ถึง 20 ซม. ก้านใบสีน้ำตาลเข้ม ส่วนมากยาว 10–40 ซม. แกนด้านบนเป็นร่อง มีขน ใบประกอบย่อยเรียงสลับระนาบเดียว ยาวได้ถึง 10 ซม. ใบย่อยเรียงสลับระนาบเดียว มีมากกว่าข้างละ 10 ใบ ใบย่อยรูปพัด มีก้านชัดเจน แผ่นใบกว้างได้ถึง 1.5 ซม. ช่วงปลายขอบจักฟันเลื่อย กลุ่มอับสปอร์เรียงตามขอบใบ ห่าง ๆ กัน รูปรีหรือกลม ยาวได้ถึง 5 มม.
พบที่อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ในไทยพบทุกภาค ภาคใต้ถึงชุมพร ขึ้นตามที่โล่งในป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 1200 เมตร
| | | | ชื่ออื่น กูดก้านดำ (นราธิวาส); เฟินก้านดำ (กรุงเทพฯ)
| | เฟินก้านดำ: ใบประกอบรูปคล้ายตีนเป็ดหรือแบบขนนกสามชั้น กลุ่มอับสปอร์เรียงตามขอบใบ ห่าง ๆ กัน (ภาพ: ธรรมรัตน์ พุทธไทย)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Lin, Y., J. Prado and M.G. Gilbert. (2013). Pteridaceae (Adiantum). In Flora of China Vol. 2–3: 238. |
| Lindsay, S. and D.J. Middleton. (2012 onwards). Ferns of Thailand, Laos and Cambodia. http://rbg-web2.rbge.org.uk/thaiferns/ |
| Tagawa, M. and K. Iwatsuki. (1989). Pteridaceae. In Flora of Thailand Vol. 3(2): 206–216. |