| | Mucuna monosperma DC. ex Wight |
|
ไม้เถา มีขนคันกระจายตามกิ่ง ก้านใบ ช่อดอก ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่ ยาว 7–15 ซม. ช่อดอกยาว 3–6 ซม. ดอกออกเป็นกระจุกตามก้านช่อ 2–5 กระจุก ก้านดอกยาว 0.6–1 ซม. ใบประดับรูปแถบ ยาว 1.5–3 ซม. กลีบเลี้ยงมีขนคันหนาแน่น หลอดกลีบกว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 7 มม. ปลายแยกเป็นแฉกกว้าง กลีบล่างยาวประมาณ 4.5 ซม. กลีบคู่ข้างยาวประมาณ 2 มม. ใบประดับย่อยรูปแถบ ยาว 1.5–3 ซม. ร่วงเร็ว ดอกสีม่วง มีขนที่โคนกลีบ กลีบกลางยาวประมาณ 2.5 ซม. กลีบปีกยาว 4–4.5 ซม. กลีบคู่ล่างยาวเท่า ๆ กลีบปีก ฝักแบน รูปรี ยาว 3.5–7.5 ซม. หนาได้ถึง 2 ซม. ขอบเว้าเป็นสันคล้ายปีกทั้งสองด้าน กว้างประมาณ 5 มม. มีริ้วเป็นสันเรียงไม่เป็นระเบียบตามขวาง 5–6 ริ้ว สูง 3–5 มม. มีขนคันแข็ง ยาว ส่วนมากมีเมล็ดเดียว สีน้ำตาลแดง รูปรี ยาวประมาณ 3 ซม.
พบที่ศรีลังกา อินเดีย และพม่า ในไทยพบเฉพาะทางภาคเหนือตอนล่างที่ตาก กำแพงเพชร ภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่อุทัยธานี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และภาคใต้ที่กระบี่ ขึ้นตามชายป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 300 เมตร
| | | | ชื่ออื่น ตำแยใหญ่ (นครราชสีมา); มะบ้าลาย (เชียงใหม่); สะบ้าลิงลาย, หมามุ่ยใหญ่ (ภาคกลาง)
| | หมามุ่ยใหญ่: ดอกสีม่วง ออกเป็นกระจุกสั้น ๆ ขอบฝักเว้าเป็นสัน มีริ้วเป็นสันเรียงไม่เป็นระเบียบตามขวาง 5–6 ริ้ว (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Sa, R. and C.M. Wilmot-Dear. (2010). Fabaceae (Mucuna). In Flora of China Vol. 10: 207, 213, 217. |
| Wilmot-Dear, C.M. (2008). Mucuna Adans. (Leguminosae) in Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 36: 114–139. |
| Wilmot-Dear, C.M. (1992). A revision of Mucuna (Leguminosae: Phaseoleae) in Thailand, Indochina and the Malay Peninsula. Kew Bulletin 47(2): 203–245. |