Index to botanical names
Fabaceae
ไม้เถาเนื้อแข็ง ลำต้นมีหนามแข็งและหนามโค้งทั่วไป แกนกลางใบประกอบยาว 15–30 ซม. ใบประกอบย่อยมี 2–5 ใบ ใบย่อยมี 4–5 คู่ รูปไข่ ยาว 5–10 ซม. ปลายแหลมยาว โคนเบี้ยว ก้านใบยาว 3–5 มม. ช่อดอกออกตามซอกใบ ช่อแขนงแบบช่อกระจะ ยาวได้ถึง 30 ซม. ใบประดับร่วงง่าย ดอกจำนวนมาก ก้านดอกยาว 0.5–1.5 ซม. กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลืองคล้ายกลีบดอก กลีบล่างรูปคุ่ม ดอกสีเหลือง ยาวประมาณ 1 ซม. กลีบกลางสีน้ำตาลแดงคล้ายรูปผีเสื้อ ขนาดเล็กกว่ากลีบอื่น ๆ ก้านชูอับเรณูโค้งงอ ยาว 2–2.5 ซม. มีขนใกล้โคน รังไข่เกลี้ยง มีออวุล 1–2 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ฝักแบน รูปขอบขนาน ยาว 8–12 ซม. มีปีกกว้าง 5–7 มม. เมล็ดติดประมาณกลางฝักพบที่อินเดีย เนปาล พม่า จีนตอนใต้ เวียดนาม ภูมิภาคมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ในไทยพบกระจายห่าง ๆ ทุกภาค ขึ้นตามชายป่า ริมลำธาร ในป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 1000 เมตร
ชื่ออื่น กำจาย, หนามจั่น (ภาคเหนือ); ขี้แรด (ภาคตะวันตกเฉียงใต้); วัลย์ทะลึงใหญ่ (นครราชสีมา); หนามขี้แรด (ราชบุรี); หนามค่า (เลย); หนามโค้ง, หนามจาย (ภาคกลาง)
หนามขี้แรด: ลำต้นมีหนามแข็งและหนามโค้งทั่วไป ช่อแขนงแบบช่อกระจะ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลืองคล้ายกลีบดอก กลีบล่างรูปคุ่ม ดอกสีเหลือง กลีบขนาดไม่เท่ากัน (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)
Larsen, K., S.S. Larsen and J.E. Vidal. (1984). Leguminosae-Caesalpinioideae. In Flora of Thailand Vol. 4(1): 61–82.