สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   



หนวดเสือ
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560

Tacca plantaginea (Hance) Drenth

Dioscoreaceae

ไม้ล้มลุก เหง้ารูปทรงกระบอกสั้น ๆ ใบรูปใบหอก ยาว 10–35 ซม. ปลายแหลมยาว โคนเบี้ยว เรียวสอบตามก้านใบคล้ายปีกจรดกาบ<ฝb> ก้านใบยาว 5–30 ซม. ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม มี 1–6 ช่อ<ฝb> ช่อสั้นหรือยาวได้ถึง 25 ซม. แต่ละช่อมี 6–20 ดอก กลีบประดับ 2 คู่ เรียงตรงข้ามสลับฉาก<ฝb> รูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลม สีเขียวอมขาว มีสีม่วงอ่อนแซม คู่นอกยาว 1–3 ซม. คู่ในยาว 0.5–2.5 ซม. กลีบประดับรูปเส้นด้าย มี 6–20 อัน<ฝb> สีอ่อนกว่ากลีบประดับ ยาวได้ถึง 8 ซม. ดอกสีเขียวขาวอมม่วง หลอดกลีบสั้น กลีบรวม 6 กลีบ ปลายงุ้ม ติดทน<ฝb> วงนอกรูปสามเหลี่ยมหรือรูปใบหอก ยาว 0.5–1 ซม. กลีบวงในรูปไข่ ยาวประมาณ 5 มม. ผลรูปรีแกมสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 0.6–1 ซม. แห้งแตกเป็น 3 ส่วน จรดโคน<ฝb> เมล็ดรูปขอบขนานคล้ายครึ่งวงกลม (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ว่านค้างคาว, สกุล)

พบที่จีนตอนใต้ เวียดนาม และลาว ในไทยพบกระจายห่าง ๆ แทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นริมลำธารหรือที่ชื้นแฉะ ในป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ ความสูง 100–600 เมตร ทั้งต้นมีสรรพคุณลดการอักเสบ

ชื่อพ้อง  Schizocapsa plantaginea Hance, S. guangxiensis P.P.Ling & C.T.Ting

ชื่ออื่น   ดีทิง (พิษณุโลก); ผักคี๊ปา (แพร่); หนวดเสือ (สระบุรี)

หนวดเสือ: โคนใบเรียวสอบตามก้านใบคล้ายปีกจรดกาบ ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม กลีบประดับรูปเส้นด้ายมี 6–20 อัน กลีบรวมวงนอกรูปสามเหลี่ยม วงในรูปไข่ขนาดเล็ก ผลแห้งแตกเป็น 3 ส่วน จรดโคน (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)

เอกสารอ้างอิง

Phengklai, C. (1993). Taccaceae (Schizocapsa plantaginea). In Flora of Thailand Vol. 6(1): 5.

Ting, C.C. and K. Larsen. (2000). Taccaceae (Schizocapsa plantaginea). In Flora of China Vol. 24: 274–275.