Index to botanical names
Fabaceae
ไม้ต้น สูงได้ถึง 25 ม. มีขนสั้นนุ่มสีเทาตามกิ่งอ่อน ช่อดอก กลีบเลี้ยงด้านใน และรังไข่ หูใบขนาดเล็ก ร่วงเร็ว ใบประกอบปลายคี่ เรียงเวียน แกนใบประกอบยาว 4–8 ซม. ใบย่อยมี 4–6 ใบ เรียงสลับระนาบเดียว รูปไข่ ยาว 3–8 ซม. ปลายแหลมยาว ส่วนปลายมน โคนกลมหรือมน ก้านใบยาว 2–3 มม. ช่อดอกคล้ายช่อเชิงลด ออกตามซอกใบ ยาว 5–15 ซม. ก้านดอกยาว 3–4 มม. ใบประดับและใบประดับย่อยขนาดเล็ก ร่วงเร็ว ฐานดอกสั้น กลีบเลี้ยง 4 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม รูปไข่ ยาว 3–4 มม. ด้านนอกเกลี้ยง พับงอกลับ ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 8–10 อัน แยกกัน ยาวกว่ากลีบเลี้ยงเล็กน้อย รังไข่มีขน ออวุล 3–5 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียยาวเท่า ๆ รังไข่ ยอดเกสรเป็นตุ่ม ผลรูปรี แบน ยาว 5–6 ซม. แห้งแตก มีขนกำมะหยี่หนาแน่น มี 1–2 เมล็ด คล้ายเมล็ดถั่ว ยาวประมาณ 3 ซม.พบในภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบกระจายห่าง ๆ ทางภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่ปราจีนบุรี ขึ้นตามที่ราบ ท้องนา และริมลำธารในป่าดิบแล้ง ความสูงระดับต่ำ ๆสกุล Crudia Schreb. อยู่ภายใต้วงศ์ย่อย Caesalpinioideae เผ่า Detarieae มี 50–55 ชนิด พบในอเมริกาเขตร้อน แอฟริกา และเอเชีย โดยเฉพาะภูมิภาคมาเลเซีย เป็นสกุลที่ยังมีการศึกษาน้อยมาก ในไทยมี 6 ชนิด อีก 5 ชนิด พบเฉพาะทางภาคใต้ตอนล่าง มักพบตามป่าพรุน้ำจืด มีพืชถิ่นเดียวของไทย 1 ชนิด คือ C. speciosa Prain พบที่พังงาและสุราษฎร์ธานี ชื่อสกุลมาจากภาษาพื้นเมืองของประเทศกายอานา หรือตั้งตามนักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกา Johann Wilhelm Crudy (1753–1810?)
ชื่อพ้อง Apalatoa chrysantha Pierre
ชื่ออื่น ดู่ขาว, เดือยไก่ (สุโขทัย); ประดู่ขาว (สุรินทร์); สะตือ (ภาคกลาง); แห้ (สกลนคร)
สะตือ: ใบประกอบมีใบย่อย 4–6 ใบ เรียงสลับระนาบเดียว ช่อดอกคล้ายช่อเชิงลด กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ด้านในมีขนสั้นนุ่ม ไม่มีกลีบดอก รังไข่มีขนหนาแน่น ผลมีขนกำมะหยี่หนาแน่น (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Larsen, K., S.S. Larsen and J.E. Vidal. (1984). Leguminosae-Caesalpinioideae. In Flora of Thailand Vol. 4(1): 88–93.