สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   



สนสามใบ
วันที่ 3 กรกฎาคม 2560

Pinus kesiya Royle ex Gordon

Pinaceae

ไม้ต้น สูง 30–35 ม. เปลือกแตกเป็นร่องลึกสีน้ำตาลปนเทา ลอกเป็นแผ่นบาง ๆ ใบมี 3 ใบในแต่ละกระจุก หน้าตัดขวางรูปสามเหลี่ยม ยาว 10–22 ซม. มีเส้นเป็นไข 3–6 เส้น โคนเมล็ดออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ รูปไข่ ยาว 5–8 ซม. โค้งเล็กน้อย ก้านโคนยาวประมาณ 5 มม. เกล็ดหนาแน่น รูปขอบขนาน ยาว 2.5–3 ซม. มีเส้นพาดผ่านเกล็ด เมล็ดสีน้ำตาลดำ รูปรี แบนเล็กน้อย ยาว 5–6 มม. ปีกยาวประมาณ 4 เท่าของความยาวเมล็ด (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ สนเขา, สกุล)

พบที่อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน และฟิลิปปินส์ (เกาะลูซอน) ในไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ขึ้นกระจายห่าง ๆ ในป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา หรือขึ้นหนาแน่นเป็นผืนป่าขนาดใหญ่ปนกับสนสองใบ ความสูงถึงประมาณ 1800 เมตร ปลูกเป็นไม้สวนป่าในหลายประเทศทั้งในเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้

ชื่อสามัญ  Benguet pine, Khasi pine, Khasia pine, Luzon pine, Three-needled pine

ชื่ออื่น   เกี๊ยะเปลือกแดง (ภาคเหนือ); เกี๊ยะเปลือกบาง (Chiang Mai); จ๋วง chuang (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกฉียงเหนือ); เชี้ยงบั้ง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); แปก (เพชรบูรณ์, เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน); สนเขา, สนสามใบ (ภาคกลาง)

สนสามใบ: เปลือกแตกเป็นร่องสีน้ำตาลปนเทา ลอกเป็นแผ่นบาง มี 3 ใบในแต่ละกระจุก โคนรูปไข่ (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล, ภัทธรวีร์ พรหมนัส)

เอกสารอ้างอิง

Fu, L., N. Li, T.S. Elias and R.R. Mill. (1999). Pinaceae. In Flora of China Vol. 4: 15.

Phengklai, C. (1972). Pinaceae. In Flora of Thailand Vol. 2(2): 194.