| | Lygodium circinnatum (Burm.f.) Sw. |
|
เฟินขึ้นบนพื้นดิน เลื้อยยาวได้ถึง 10 ม. ปลายเป็นปีกแคบ ๆ เหง้าสั้น มีขนสีดำหนาแน่น ใบประกอบ 3 ชั้น แกนกลางใบประกอบสั้น ก้านใบยาว 40–50 ซม. โคนก้านใบมีขนสีดำ แกนกลางใบประกอบย่อยยาว 2–6 ซม. ใบย่อยแฉกลึกรูปฝ่ามือ 2–7 พู กว้าง 2–3 ซม. ยาว 20–25 ซม. ปลายแหลม โคนรูปลิ่มหรือรูปลิ่มกว้าง ขอบจักเป็นคลื่นเล็กน้อย หนา เส้นใบแตกเป็นง่าม มีขนประปราย ใบสร้างสปอร์แคบ กลุ่มอับสปอร์เกิดที่ขอบใบ ยาว 2–5 มม.
พบที่อินเดีย ศรีลังกา จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ขึ้นตามป่าดิบชื้น ชายป่าดิบชื้น และชายป่าพรุ ความสูงถึงประมาณ 1500 เมตร
| ชื่อพ้อง Ophioglossum circinatum Burm.f.
| | | ชื่ออื่น ย่านพิเภก (สุราษฎร์ธานี); ลิเภาหางไก่ (ยะลา)
| | ลิเภาหางไก่: เฟินเลื้อยพันต้นไม้ ใบย่อยแฉกลึกรูปฝ่ามือ กลุ่มอับสปอร์เกิดที่ขอบใบ (ภาพ: ธรรมรัตน์ พุทธไทย)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Lindsay, S. and D.J. Middleton. (2012 onwards). Ferns of Thailand, Laos and Cambodia. http://rbg-web2.rbge.org.uk/thaiferns/ |
| Tagawa, M. and K. Iwatsuki. (1979). Polypodiaceae. In Flora of Thailand 3(1): 59–67. |
| Xianchun, Z. and J.G. Hanks. (2013). Lygodiaceae. In Flora of China Vol. 2–3: 118–121. |