| | Lygodium microphyllum (Cav.) R.Br. |
|
เฟินขึ้นบนพื้นดิน เลื้อยยาว 10–15 ม. เหง้าทอดนอน เส้นผ่านศูนย์กลาง 2–3 มม. มีขนสีน้ำตาลดำหรือแดงตามเหง้า และโคนก้านใบ ใบประกอบ 3 ชั้น แกนกลางใบประกอบยาว 5–10 ซม. มีครีบเป็นปีกแคบ ๆ ก้านใบยาวได้ถึง 10 ซม. ใบประกอบย่อยยาว 5–8 ซม. เรียงห่าง ๆ กัน ก้านยาว 3–6 มม. มีใบย่อยข้างละ 3–7 ใบ เรียงสลับ ก้านใบย่อยยาว 2–4 มม. ใบย่อยที่ไม่สร้างสปอร์รูปสามเหลี่ยม หรือจักเว้า 2–3 แฉก ยาว 1.5–3 ซม. กว้าง 1–2 ซม. ปลายมนกลม โคนตัดหรือเว้าตื้นเป็นติ่งมน เส้นใบแตกเป็นง่าม ใบย่อยสร้างสปอร์ขนาดเล็กและแคบกว่าเล็กน้อย กลุ่มอับสปอร์เกิดที่ขอบใบ
พบในเอเชีย แอฟริกา ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามลุ่มน้ำขัง ชายป่า ขอบป่าพรุ ความสูงระดับต่ำ ๆ น้ำคั้นจากต้นมีสรรพคุณแก้อาการอักเสบภายใน และท้องเสีย
| ชื่อพ้อง Ugena microphylla Cav.
| | ชื่อสามัญ Old World climbing fern
| ชื่ออื่น กะฉอดหนู (จันทบุรี, ตราด); รีบูปาดี, ลิบูชือนิง (มาเลย์-นราธิวาส); ลิเภายุ่ง (ภาคใต้)
| | ลิเภายุ่ง: เฟินเลื้อยพันหรือคลุมพืชอื่น ใบประกอบ 3 ชั้น ใบย่อยโคนตัดหรือเว้าตื้นเป็นติ่งมน กลุ่มอับสปอร์เกิดที่ขอบใบ (ภาพ: ผาทิพย์ ช่วยเนียม)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Lindsay, S. and D.J. Middleton. (2012 onwards). Ferns of Thailand, Laos and Cambodia. http://rbg-web2.rbge.org.uk/thaiferns/ |
| Tagawa, M. and K. Iwatsuki. (1979). Polypodiaceae. In Flora of Thailand 3(1): 59–67. |
| Xianchun, Z. and J.G. Hanks. (2013). Lygodiaceae. In Flora of China Vol. 2–3: 118–121. |