สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   



ลำป้าง
วันที่ 29 พฤษภาคม 2560

Pterospermum diversifolium Blume

Malvaceae

ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. มีขนสั้นนุ่ม ขนกระจุกรูปดาว หรือเกล็ดขุยหนาแน่นตามกิ่ง แผ่นใบด้านล่าง กลีบเลี้ยงทั้งสองด้าน กลีบดอกด้านนอก รังไข่ และโคนก้านเกสรเพศเมีย ใบรูปรี รูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่ ปลายแหลม โคนรูปลิ่มกว้าง มน หรือเว้าตื้น ๆ ริ้วประดับ 3 ใบ รูปใบหอก กลีบเลี้ยงรูปใบหอก ยาว 8–17 ซม. แฉกลึก พับงอกลับ ดอกสีขาว กลีบรูปใบหอกกลับ ยาวเท่า ๆ กลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ยาว 4–6 ซม. เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 5 อัน ยาว 4–8 ซม. มีต่อมโปร่งใสกระจาย ก้านเกสรเพศเมียยาว 3–4 ซม. ยอดเกสรบิดเกลียว ผลรูปขอบขนาน มี 5 สัน ยาว 7–20 ซม. เมล็ดยาว 2–5 ซม. รวมปีกบาง ๆ

พบที่อินเดีย เวียดนาม คาบสมุทรมลายู และสุมาตรา ในไทยพบทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ขึ้นตามป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้นใกล้ชายฝั่งทะเล ความสูงถึงประมาณ 800 เมตร

ชื่ออื่น   ขนาน, ลำป้าง (ปราจีนบุรี); จำปาเทศ (ภาคกลาง); จำปีแขก (ภาคใต้); บาโย, ลีงอกาเยาะ (มาเลย์-นราธิวาส); ปายู, ยู (กระบี่); มะโย (มาเลย์-ยะลา); ลกป้าง (เขมร-ปราจีนบุรี); ล่อ (สุราษฎร์ธานี); ละป้าง, สะละป้าง (สระบุรี); เหลืองนา (จันทบุรี)

ลำป้าง: แผ่นใบด้านล่างมีเกล็ดขุยหนาแน่น ผลรูปขอบขนาน มี 5 สัน (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)

เอกสารอ้างอิง

Phengklai, C. (2001). Sterculiaceae. In Flora of Thailand Vol. 7(3): 599–615.

Tang, Y., M.G. Gilbert and L.J. Dorr. (2007). Sterculiaceae. In Flora of China Vol. 12: 327.