| | Thunbergia colpifera B.Hansen |
|
ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 1 ม. ลำต้นเกลี้ยง ใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 19–28 ซม. ปลายแหลมยาวหรือยาวคล้ายหาง โคนเรียวสอบ เส้นแขนงใบข้างละ 6–7 เส้น ช่อดอกเป็นกระจุกสั้น ๆ ตามซอกใบ มี 2–4 ดอก ใบประดับรูปใบหอก ยาว 5–6 มม. ก้านดอกยาวประมาณ 1.5 ซม. ใบประดับย่อยคล้ายกาบหุ้มกลีบเลี้ยง รูปไข่ ยาว 1.5–2.5 ซม. กลีบเลี้ยงจักซี่ฟันตื้น ๆ ไม่เท่ากัน ยาวประมาณ 2 มม. ดอกสีขาว ด้านในมีปื้นสีแดงอมม่วง หลอดกลีบดอกยาว 2.5–2.8 ซม. ด้านในมีขนและต่อมช่วงโคน กลีบปากรูปกลม ขอบมีขนครุย กลีบบน 2 กลีบ กว้างประมาณ 5 มม. ยาวประมาณ 7 มม. กลีบล่าง 3 กลีบ รูปรีกว้าง กลีบกลางขนาดใหญ่กว่ากลีบข้างเล็กน้อย ยาวประมาณ 9 มม. ก้านชูอับเรณูยาว 4–6 มม. มีต่อมหนาแน่น อับเรณูยาวประมาณ 6 มม. มีรยางค์เป็นขน รังไข่และก้านเกสรเพศเมียเกลี้ยง ผลฐานกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซม จะงอยรูปดาบ ยาว 1.5–2 ซม. ก้านผลยาวได้ถึง 2.3 ซม.
พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคเหนือที่ดอยภูคา จังหวัดน่าน ขึ้นตามป่าดิบเขา ความสูง 1500–1600 เมตร
| | | | ชื่ออื่น รางจืดต้นภูคา, รางจืดภูคา (ทั่วไป)
| | รางจืดภูคา: ช่อดอกเป็นกระจุกสั้น ๆ ตามซอกใบ ใบประดับย่อยคล้ายกาบหุ้มกลีบเลี้ยง ดอกรูปแตร ผลฐานกลม ปลายเป็นจะงอย แห้งแตก (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา, สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Hansen, B. (1995). Notes on SE Asian Acanthaceae 2. Nordic Journal of Botany 15(6): 583–585. |
| Hu, J.Q. and T.F. Daniel. (2011). Acanthaceae (Thunbergia). In Flora of China Vol. 19: 377. |
| Staples, G.W. and D.R. Herbst. (2005). A tropical garden flora. Bishop Museum Press, Honolulu, Hawai`i. |