| ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 10–20 ม. เปลือกหนาแตกเป็นสะเก็ดตามยาว สีเทา หูใบรูปไข่ ยาว 1–2 ซม. ติดทน ใบรูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 6.5–20 ซม. ปลายแหลมหรือมน โคนเว้าลึก แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่ม เส้นแขนงใบข้างละ 12–20 เส้น ก้านใบยาว 1.5–4 ซม. ช่อดอกยาว 5–15 ซม. ก้านดอกยาวประมาณ 3 มม. กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 0.5 มม. มีขนละเอียด ดอกสีขาวครีมหรือเหลืองอ่อน กลีบดอกรูปรี เรียงเวียนพับลง กว้าง 1–1.3 ซม. ยาว 1.5–2 ซม. ด้านนอกมีขนละเอียด เกสรเพศผู้ 15 อัน ขนาดไม่เท่ากัน เกลี้ยง รังไข่เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียจัก 3 พู ปลายมีขนครุย ผลเกลี้ยง รูปรีเกือบกลม ยาว 1.5–2 ซม. ปลายมีติ่งแหลม ยาว 2–3 มม. ปีกยาว 3 ปีก ยาว 5–9 ซม. ปีกสั้น 2 ปีก ยาว 3–6 ซม. ผลอ่อนปีกสีแดง (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ พะยอม, สกุล)พะยอม, สกุล)
พบที่พม่า ภูมิภาคอินโดจีนจนถึงทางตอนบนของคาบสมุทรมลายู ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าเต็งรังหรือป่าเต็งรังผสมสนเขา ความสูงถึงประมาณ 1300 เมตร ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ พบบนเขาหินปูนหรือโขดหินริมทะเล
| ชื่อพ้อง Pentacme siamensis (Miq.) Kurz
| | ชื่อสามัญ Dark red meranti, Light red meranti, Red lauan
| ชื่ออื่น เปา, เปาดอกแดง (ภาคเหนือ); รัง (ภาคกลาง); เรียง, เรียงพนม (เขมร-สุรินทร์); ลักป้าว (ละว้า-เชียงใหม่); แลบอง, เหล้ท้อ, เหล่บอง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ฮัง (ภาคเหนือ)
| | รัง: ถิ่นที่อยู่บนโขดหินริมทะเล ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ดอกสีขาวครีมหรือเหลืองอ่อน เรียงเวียนพับลง ผลเกลี้ยง ผลอ่อนปีกสีแดง (ภาพ: มานพ ผู้พัฒน์, ราชันยื ภู่มา)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Ashton, P. (1982). Dipterocarpaceae. In Flora Malesiana Vol. 9: 466. |
| Pooma, R. and M. Newman. (2001). Checklist of Dipterocarpaceae in Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 29: 173–176. |
| Smitinand, T., J.E. Vidal and P.H. Hô. (1990). Dipterocarpaceae. Flore du Cambodge, du Laos et du Vietnam. 25: 94. |