ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 5 ม. ใบรูปขอบขนาน รูปใบหอก หรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 3–30 ซม. เส้นแขนงใบข้างละ 9–18 เส้น ก้านใบยาว 0.5–1 ซม. ช่อดอกหลายช่อเรียงเวียนรอบข้อตามปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 12 ซม. ก้านช่อสั้นหรือยาวได้ถึง 10 ซม. ก้านดอกยาว 3.5–7.5 มม. กลีบเลี้ยงรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ยาว 1.5–2.5 มม. ดอกสีขาวหรือสีแดง หลอดกลีบดอกยาว 1–1.8 ซม. มีขนรอบปากหลอด กลีบรูปรี ยาว 2–4 มม. เกสรเพศผู้ติดใกล้ปากหลอด คาร์เพลแยกกัน เกสรเพศเมียยาว 0.4–1 ซม. รวมยอดเกสร ผลออกเป็นคู่ รูปรี ยาว 0.8–1.4 ซม.
พบที่อินเดีย ศรีลังกา จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา ความสูงถึงประมาณ 1600 เมตร
|
ชื่อพ้อง Rauvolfia ophiorrhizoides (Kurz) Kerr
|
|
ชื่อสามัญ Common devil-pepper
|
ชื่ออื่น ขะย่อมใหญ่ (เพชรบูรณ์); จี้ปุก (ภาคเหนือ); แฉก (นครศรีธรรมราช, ตรัง); ปอนุ (มูเซอ-เชียงราย); พุดน้อย (ลำปาง); ยาแก้ฮากขม (เงี้ยว-เชียงใหม่); ระย่อมใหญ่ (ภาคกลาง); สะลัก (เงี้ยว-เชียงใหม่)
|
|
ระย่อมใหญ่: ช่อดอกหลายช่อเรียงเวียนรอบข้อตามปลายกิ่ง ดอกสีขาวหรือสีแดง (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
|
|