| | Phymatosorus scolopendria (Burm.f.) Pic. Serm. |
|
เฟินอิงอาศัย เหง้าทอดเลื้อย เส้นผ่านศูนย์กลาง 3–5 มม. บางครั้งมีนวล มีเกล็ดหนาแน่น สีน้ำตาลดำ รูปใบหอก ปลายเรียวแหลม ยาวได้ถึง 3 มม. ขอบมีขน ใบรูปไข่หรือคล้ายรูปสามเหลี่ยม ยาวได้ถึง 40 ซม. กว้าง 35–40 ซม. โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบหรือจักเป็นพู 1–6 คู่ แฉกลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ รูปขอบขนาน ยาวได้ถึง 20 ซม. กว้าง 3–5 ซม. ปลายเรียวแหลม ขอบเรียบ เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 40–50 ซม. กลุ่มอับสปอร์กลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 มม. เรียงสองแถวแต่ละข้างของเส้นใบ กลุ่มอับสปอร์ ด้านบนนูนพบที่แอฟริกา อินเดีย ศรีลังกา จีนตอนใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น กัมพูชา เวียดนาม ภูมิภาคมาเลเซีย นิวกินี ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยส่วนมากพบทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นบนต้นไม้หรือโขดหินในป่าดิบชื้น และป่าพรุ ความสูงระดับต่ำ ๆ ใบมีสารคูมาริน (cumarin) มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
สกุล Phymatosorus Pic. Serm. มีประมาณ 13 ชนิด ในไทยมี 4 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “phyma” ตุ่ม และ “soros” เยื่อหุ้มสปอร์ ตามลักษณะของกลุ่มอับสปอร์ที่นูนด้านบน
| ชื่อพ้อง Polypodium scolopendria Burm.f., Microsorum scolopendria (Burm.f.) Copel.
| | | ชื่ออื่น ปอโฮ้งว่าว (มาเลย์-นราธิวาส); ยายแพก, หัวว่าว (ภาคใต้)
| | ยายแพก: เฟินอิงอาศัย เหง้าทอดเลื้อย บางครั้งมีนวล ขอบใบจักเป็นพู แฉกลึก กลุ่มอับสปอร์กลม เรียงสองแถวแต่ละข้างของเส้นใบ (ภาพ: ผาทิพย์ ช่วยเนียม)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Lindsay, S. and D.J. Middleton. (2012 onwards). Ferns of Thailand, Laos and Cambodia. http://rbg-web2.rbge.org.uk/thaiferns/ |
| Lu, S. and H.P. Nooteboom. (2013). Polypodiaceae (Phymatosorus). In Flora of China Vol. 2–3: 827–828. |
| Tagawa, M. and K. Iwatsuki. (1989). Polypodiaceae (Microsorum scolopendria). In Flora of Thailand 3(4): 533. |