| ยอน้ำ
| | | วันที่ 28 เมษายน 2560 |
| Morinda pandurifolia Kuntze |
|
ไม้พุ่มหรือรอเลื้อย มีขนสั้นนุ่มตามกิ่งอ่อน แผ่นใบ ก้านใบ ใบมักเรียงหนาแน่นที่ปลายกิ่ง รูปรีถึงรูปใบหอก หรือคล้ายรูปไวโอลิน มักมีสีน้ำตาลแดงตามกิ่ง ก้านใบ และเส้นกลางใบ ยาว 3–15 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนเรียวสอบ ก้านใบยาว 0.5–3 ซม. ช่อดอกออกเดี่ยว ๆ ก้านช่อสั้น บางครั้งออกชิดกันใกล้ปลายกิ่งดูคล้ายช่อแยกแขนง ช่อเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ดอกรูปดอกเข็ม หลอดกลีบดอกยาว 1–1.8 ซม. มีขนละเอียดประปราย มี 4–6 กลีบ รูปขอบขนาน ยาว 0.5–1.5 ซม. ก้านเกสรเพศเมียยาว 3–5 มม. และ 0.8–1 ซม. ผลรูปรีหรือกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5–2 ซม.
พบที่ภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบทางภาคเหนือตอนล่างที่ตาก และนครสวรรค์ ภาคกลางพบทั่วไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เลย มหาสารคาม ภาคตะวันออกที่อุบลราชธานี และภาคใต้ที่สุราษฎร์ธานี ขึ้นในที่ลุ่มน้ำขังหรือริมแม่น้ำ ความสูงระดับต่ำ ๆ ลักษณะและรูปร่างของใบมีความผันแปรสูง เคยแยกเป็น var. oblonga (Pit.) Craib และ var. tenuifolia Craib
| ชื่อพ้อง Morinda pandurifolia Kuntze var. oblonga (Pitard) Craib, M. tenuifolia Craib
| | | ชื่ออื่น ก้ามกุ้ง (เลย); ยอเตี้ย (สุราษฎร์ธานี); ยอนา (ภาคกลาง, ภาคใต้); ยอน้ำ (ชัยนาท); ยอป่า (อ่างทอง); ยอป่าเล็ก (นครสวรรค์)
| | ยอน้ำ: มักมีสีน้ำตาลแดงตามกิ่ง ก้านช่อดอกสั้น ดอกรูปดอกเข็ม (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Chen, T. and C.M. Taylor. (2011). Rubiaceae (Morinda). In Flora of China Vol. 19: 220, 223, 229. |
| Das, S.C. and M.A. Rahman. (2011). Taxonomic revision of the genus Morinda L. (Rubiaceae) in Bangladesh. Bangladesh Jornal of Botany 40(2): 113–120. |
| Kesonbua, W. and P. Chantaranothai. (2013). The genus Morinda (Rubiaceae) in Thailand. ScienceAsia 39: 331–339. |