Index to botanical names
Oleaceae
ไม้พุ่มรอเลื้อย สูงได้ถึง 3 ม. กิ่งมีขนประปราย ใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปไข่กลับกว้างเกือบกลม ยาว 4–12.5 ซม. แผ่นใบด้านล่างมีขนตามเส้นแขนงใบ ก้านใบยาว 2–6 มม. มีขนสั้นนุ่ม โคนและปลายแหลม เส้นแขนงใบข้างละ 4–6 เส้น เส้นโคนใบไม่ชัดเจน ช่อดอกออกสั้น ๆ ที่ปลายกิ่ง มี 1–5 ดอก ใบประดับรูปลิ่มแคบ ยาว 4–8 มม. ก้านดอกยาว 0.3–2 ซม. กลีบเลี้ยง 8–9 กลีบ รูปแถบ ยาว 5–7 มม. หลอดกลีบดอกสั้น กลีบดอกมีได้ถึง 16 กลีบ รูปรีหรือเกือบกลม ยาว 5–9 มม. ผลรูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. สุกสีม่วงดำเข้าใจว่ามีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เป็นไม้ประดับทั่วไปในเขตร้อน ดอกมีกลิ่นหอมแรง ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อสามัญ Arabian jasmine มีหลากสายพันธุ์ ทั้งดอกซ้อน ดอกเรียงเป็นชั้นหลายแบบ หรือรูปคล้ายมงกุฏ ส่วนใหญ่ไม่ติดผล เป็นสัญลักษณ์ของวันแม่แห่งชาติของไทย และเป็นดอกไม้ประจำชาติของฟิลิปปินส์
ชื่อพ้อง Nyctanthes sambac L.
ชื่อสามัญ Arabian jasmine, Sampaguita
ชื่ออื่น ข้าวแตก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน); เตียมูน (ละว้า-เชียงใหม่); มะลิ (ทั่วไป); มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่); มะลิซ้อน (ภาคกลาง); มะลิป้อม (ภาคเหนือ); มะลิลา (ท่วไป); มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน)
มะลิ: ใบรูปรีหรือรูปไข่กลับกว้าง กลีบเลี้ยง 8–9 กลีบ รูปแถบ กลีบดอกเป็นสองเท่าของกลีบเลี้ยง หรือกลีบดอกซ้อน (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Chang, M.C., L.C. Chiu, Z. Wei and P.S. Green. (1996). Oleaceae. In Flora of China Vol. 15: 318.
Green, P.S. (2000). Oleaceae. In Flora of Thailand Vol. 7(2): 306–340.