| ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. หูใบรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ใบเรียงสลับระนาบเดียว รูปแถบ ยาวได้ถึง 2 ซม. ปลายมน โคนเว้าตื้น เบี้ยว ก้านใบยาว 0.2–0.8 มม. ช่อดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบช่วงโคนกิ่ง ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้ก้านดอกยาว 1.5–3 มม. กลีบเลี้ยง 6 กลีบ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 1.2–2 มม. จานฐานดอกเป็นต่อมรูปกระบอง 6 ต่อม เกสรเพศผู้ 3 อัน เชื่อมติดกันที่โคน ดอกเพศเมียก้านสั้นกว่าในดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยงยาวกว่าเล็กน้อย จานฐานดอกเป็นวงมีสัน รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียยาว 1–1.5 ม. ยอดเกสรแยก 2 แฉก ผลรูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2–3 ซม. เมล็ดขนาดไม่เท่ากัน ยาว 4–6 มม. (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ผักหวานดง, สกุล)
พบที่อินเดีย ภูฏาน ศรีลังกา จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ขึ้นในป่าหลายประเภท ความสูงถึงประมาณ 1500 เมตร มีสรรพคุณด้านสมุนไพรหลายอย่าง โดยเฉพาะผลที่เป็นส่วนประกอบในสมุนไพรหลายขนาน
| | | ชื่อสามัญ Indian gooseberry, Malacca tree
| ชื่ออื่น กันโตด (เขมร-จันทบุรี); กำทวด (ราชบุรี); มะขามป้อม (ทั่วไป); มั่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
| | มะขามป้อม: ใบรูปแถบเรียงสลับระนาบเดียว ช่อดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบช่วงโคนกิ่ง ผลรูปกลม (ภาพ: ปิยชาติ ไตรสารศรี, ปรีชา การะเกตุ)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Chantaranothai, P. (2007). Euphorbiaceae (Phyllanthus). In Flora of Thailand Vol. 8(2): 488–490, 503. |
| Li, B. and M.G. Gilbert. (2008). Euphorbiaceae (Phyllanthus). In Flora of China Vol. 11: 182, 183. |