| พะยอม
| | | วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 |
| |
ไม้ต้น สูง 15–25 ม. โคนมีพูพอนตื้น ๆ เปลือกแตกเป็นร่อง มีขนสั้นนุ่มและเกล็ดสีน้ำตาลตามกิ่งอ่อน หูใบ ก้านใบ แผ่นใบด้านล่าง และกลีบเลี้ยงด้านนอก หูใบรูปแถบขนาดเล็ก ใบรูปขอบขนาน ยาว 5–15 ซม. เส้นแขนงใบข้างละ 14–20 เส้น ก้านใบยาว 2–4 ซม. ช่อดอกยาว 3–8 ซม. ช่อแยกแขนงมี 2–4 ดอก ตาดอกเรียวยาว ก้านดอกยาวประมาณ 2 มม. กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 5 มม. ดอกสีครีม โคนมีปื้นสีชมพู รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ยาวได้ถึง 1.2 ซม. เกสรเพศผู้ 15 อัน ก้านชูอับเรณูสั้น อับเรณูเรียวยาวประมาณ 1 มม. รยางค์ยาวประมาณ 1.5 เท่าของอับเรณู รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียยาว 3–4 มม. ยอดเกสรจัก 3 พู หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผล เกลี้ยง ปีกยาว 3 ปีก ยาว 5–10 ซม. ปีกสั้น 2 ปีก ยาว 3–6 ซม. ผลรูปไข่ ยาว 1.5–2 ซม. ติ่งแหลมยาว 3–5 มม.
พบที่อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายูตอนบน ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้นใกล้ชายฝั่งทะเล ความสูงถึงประมาณ 1500 เมตร
| | | ชื่อสามัญ White meranti
| ชื่ออื่น กะยอม (เชียงใหม่); กูวิง (มาเลย์-นราธิวาส); ขะยอม (ลาว); ขะยอมดง (ภาคเหนือ); แคน (เลย); เชียง, เซี่ยว (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่); พะยอม (ภาคกลาง); พะยอมดง (ภาคเหนือ); พะยอมทอง (ปราจีนบุรี, สุราษฎร์ธานี); ยอม (ภาคใต้); ยางหยวก (น่าน); สุกรม (ภาคกลาง)
| | พะยอม: ใบรูปขอบขนาน ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง กลีบดอกบิดเวียน ผลมีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก (ภาพ: ปิยชาติ ไตรสารศรี, ราชันย์ ภู่มา)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Ashton, P.S. (1982). Dipterocarpaceae. In Flora Malesiana Vol. 9: 493. |
| Pooma, R. and M. Newman. (2001). Checklist of Dipterocarpaceae in Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 29: 156–177. |
| Smitinand, T., J.E. Vidal and P.H. Hô. (1990). Dipterocarpaceae. Flore du Cambodge, du Laos et du Vietnam. 25: 84–104. |