สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   



ปอเต่าไห้2
วันที่ 29 ธันวาคม 2559

Helicteres hirsuta Lour.

Malvaceae

ไม้พุ่ม สูง 1–5 ม. มีขนรูปดาวหนาแน่นตามกิ่ง และแผ่นใบทั้งสองด้าน ใบรูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ยาว 5–20 ซม. โคนเบี้ยว ขอบใบจักฟันเลื่อย เส้นโคนใบข้างละ 1–2 เส้น ก้านใบยาว 0.5–2.5 ซม. มีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ช่อดอกแบบช่อกระจุกคล้ายช่อเชิงลด ออกตามซอกใบ ยาวได้ถึง 3 ซม. ก้านดอกมีข้อ กลีบเลี้ยงยาว 1–1.5 ซม. ด้านนอกมีขนละเอียด ดอกสีม่วงอมแดง กลีบรูปใบหอก ยาว 2–2.5 ซม. รังไข่เป็นสัน มีขนเป็นตุ่ม ก้านเกสรเพศเมียยาวเท่า ๆ รังไข่ ยอดเกสรจัก 5 พู ผลรูปขอบขนาน ยาว 3.5–4 ซม. มี 5 สัน ปลายเป็นจะงอย มีขนยาวและตุ่มหนาแน่น เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ขี้อ้น, สกุล)

พบที่อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ถึงฟิลิปปินส์ ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 1000 เมตร

ชื่ออื่น   ขี้ตุ่น (ภาคตะวันออกเฉียงใต้); ขี้อ้น (ภาคใต้); ช้าปาน (ภาคตะวันออกเฉียงใต้); ปอขี้ต้น (หนองคาย); ปอด่อน (พิษรุโลก); ปอเต่าไห้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคเหนือ); พังแระ, หูหมี (ภาคใต้)

ปอเต่าไห้: ช่อดอกแบบช่อกระจุกคล้ายช่อเชิงลด ดอกสีม่วงอมแดง ผลรูปขอบขนาน ปลายเป็นจะงอยแหลมยาว มีขนยาวและตุ่มหนาแน่น กลีบเลี้ยงติดทน (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)

เอกสารอ้างอิง

Phengklai. C. (2001). Sterculiaceae. In Flora of Thailand Vol. 7(3): 566.

Tang, Y., M.G. Gilbert and L.J. Dorr. (2007). Sterculiaceae. In Flora of China Vol. 12: 320.