Index to botanical names
Pentaphylacaceae
ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง 10 ม. ตาที่ยอดเกลี้ยง กิ่งเป็นเหลี่ยม ใบรูปรี รูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่ ยาว 3–13 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว ขอบจักหรือเกือบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 2–5 มม. ดอกออกเป็นกระจุก 1–4 ดอก ก้านดอกยาว 2–3 มม. กลีบดอกรูปไข่กว้าง ยาว 1–2 มม. กลีบดอกรูปไข่ ยาว 2–4 มม. เกสรเพศผู้มี 12–20 อัน รังไข่มี 3 ช่อง เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียยาว 1.5–3 มม. แยกเป็น 2–3 แฉก ผลรูปรีกว้าง ยาวประมาณ 3.5 มม.พบที่อินเดีย ศรีลังกา จีนตอนใต้ ไห่หนาน พม่า ภูมิภาคอินโดจีน สุมาตรา ชวา บอร์เนียว ฟิลิปปินส์ ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ความสูงถึงประมาณ 2100 เมตร แยกเป็น var. siamensis (Craib) H.Keng ใบขนาดใหญ่กว่า น้ำคั้นจากใบใช้ประคบแก้บวม ปวดแสบปวดร้อน
ชื่อพ้อง Eurya nitida Korth. var. siamensis (Craib) H.Keng
ชื่ออื่น ไคร้มด (เชียงใหม่); ปลายสาน (ภาคใต้); เปียย้อย (ภาคตะวันออกเฉียงใต้); แมงเม่านก (ภาคเหนือ); เหมือด (เลย)
ปลายสาน: ตาที่ยอดและแผ่นใบเกลี้ยง (ภาพ: สุคิด เรืองเรื่อ)
Keng, H. (1972). Theaceae. In Flora of Thailand Vol. 2(2): 155–157.
Min, T. and B. Bartholomew. (2007). Theaceae. In Flora of China Vol. 13: 447, 464, 467.