| ปรงลำต้นสูงได้ถึง 10 ม. ใบยาว 1.5–2.5 ม. ก้านใบยาว 50–90 ซม. มีหนามร้อยละ 5–60 ของความยาว ใบย่อยปลายแหลม ไม่แข็งเป็นหนาม ใบช่วงโคนไม่ลดรูปเป็นหนาม โคนเพศผู้รูปไข่แคบ ยาว 25–60 ซม. ใบสร้างอับไมโครสปอร์รูปรี ยาวได้ถึง 3.8 ซม. ปลายมีหนามยาวประมาณ 2 ซม. ใบสร้างอับเมกะสปอร์ยาว 30–50 ซม. มีขนสั้นนุ่ม แผ่นใบรูปใบหอก ขอบจักตื้น ๆ ปลายมีหนามยาว 2.5–4 ซม. ออวุลมี 2–8 เม็ด เมล็ดรูปไข่กว้าง ยาว 5–6.5 ซม.
พบที่พม่าและเวียดนามตอนใต้ คาบสมุทรมลายู สุมาตรา ฟิลิปปินส์ และภาคใต้ของไทย หายากในธรรมชาติ มักพบปลูกตามบ้านเรือน เดิมเข้าใจว่าเป็นชนิด C. rumphii Miq. ที่ใบสร้างอับไมโครสปอร์มีหนามหนาและแหลมกว่า พบเฉพาะแถบหมู่เกาะโมลัคคัส ซูลาเวซี นิวกินี โซโลมอน มาร์แชล คาร์โลว์ไลน์ และเกาะคริสมาสต์ทางตอนใต้ของเกาะชวา บางครั้งยังพบใช้ชื่อคลาดเคลื่อนเป็นชนิด C. circinalis L. ซึ่งพบเฉพาะในอินเดีย
| ชื่อพ้อง Cycas litoralis K.D.Hill
| | ชื่อสามัญ Sea sago
| ชื่ออื่น ปรงทะเล (ภาคกลาง); ปากู (มาเลย์-ยะลา); มะพร้าวเต่าทะเล (ภาคใต้)
| | ปรงทะเล: ใบเรียงหนาแน่น ปลายใบไม่เป็นหนามแหลม โคนเพศผู้รูปไข่แคบ ใบสร้างอับไมโครสปอร์รูปรี ปลายมีหนาม ใบสร้างอับเมกะสปอร์รูปใบหอก ขอบจักตื้น ๆ มี 2–8 เมล็ด (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Chen, J. and D.W. Stevenson. (1999). Cycadaceae. In Flora of China Vol. 4: 4. |
| Hill, K.D. and D.W. Stevenson. (1998–2006). The Cycad pages. http://plantnet.rbgsyd.nsw.gov.au/PlantNet/cycad/ |
| Hill, K.D. and S.-L. Yang. (1999). The genus Cycas (Cycadaceae) in Thailand. Brittonia 51: 48–73. |
| de Laubenfels, D.J. and F. Adema. (1998). A taxonomic revision of the genera Cycas and Epicycas gen. nov. (Cycadaceae). Blumea 43: 351–400. |
| Smitinand, T. (1972). Cycadaceae. In Flora of Thailand Vol. 2(2): 185–192. |