Index to botanical names
Nymphaeaceae
ไม้น้ำล้มลุก เหง้ามีก้านใบแห้งหุ้มหนาแน่น ใบรูปรีกว้างหรือกลม ยาว 14–28 ซม. ขอบจักแหลม แผ่นใบด้านล่างมักมีสีม่วงอมแดง มีขนหนาแน่น ด้านบนมีขนประปราย ก้านใบยาวได้ถึง 1 ม. ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 5–20 ซม. บานตอนกลางคืน ชูพ้นน้ำ กลีบเลี้ยงรูปขอบขนานยาว 3.5–8 ซม. ติดทน เส้นกลีบ 5–7 เส้น ดอกสีขาว ชมพู แดง หรือสีม่วงมีลายสีแดง ส่วนมากมี 12–14 กลีบ รูปขอบขนานหรือแกมรูปไข่ ยาว 4–9 ซม. ปลายแกนอับเรณูไม่มีรยางค์ ปลายคาร์เพลมีรยางค์รูปเส้นด้าย ผลรูปรีกว้าง ยาว 3.5–5 ซม. (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ a href="http://www.dnp.go.th/botany/detaildict.html?words=บัวเผื่อน&typeword=group">บัวเผื่อน, สกุล)พบที่ปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี และออสเตรเลีย ก้านหรือสายบัวใช้ปรุงอาหาร
ชื่อพ้อง Nymphaea lotus L. var. pubescens (Willd.) Hook.f. & Thomson, N. rubra Roxb. ex Salisb.
ชื่ออื่น จงกลนี, บัวกินสาย, บัวขม (ภาคกลาง); บัวขี้แพะ (นครราชสีมา); บัวแดง (ภาคกลาง); ปริก (เขมร); ป้าน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน); ป้านแดง (ภาคเหนือ); สัตตบรรณ, สัตตบุษย์ (กรุงเทพฯ); สายบัว (ภาคกลาง)
บัวสาย: แผ่นใบลอยบนผิวน้ำ ขอบจักแหลม ดอกบานชูพ้นน้ำ (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Fu, D., J.H. Wiersema and D. Padgett. (2001). Nymphaeaceae. In Flora of China Vol. 6: 117.