| | Schizaea dichotoma (L.) Sm. |
|
เฟินขึ้นบนพื้นดิน มีเหง้าสั้น ๆ ทอดเลื้อย เส้นใยมีผนังกั้น มีขนสีน้ำตาลเป็นมันวาวปกคลุม ใบแตกกิ่งเป็นคู่ 2–6 ครั้ง แผ่เป็นรูปพัด ยาว 7–25 ซม. กิ่งแรกคล้ายก้านใบ กิ่งบนแผ่นใบกว้าง 3–4 มม. ก้านใบยาว 10–45 ซม. มีครีบคล้ายปีกช่วงบน เหนียว ตั้งตรง ผิวเรียบเป็นมัน มีร่องด้านบน เส้นแขนงใบแยก 2 แฉก อับสปอร์แยกเป็นแฉกรูปร่างคล้ายพัดขนาดเล็ก 5–10 คู่ แต่ละแฉกยาว 2–5 มม. อับสปอร์เรียงสองแถว ไม่มีเยื่อคลุม
พบในแอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยส่วนมากพบทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นตามที่โล่ง ชายป่า ความสูงระดับต่ำ ๆ เหง้ามีสรรพคุณบรรเทาอาการไอและเจ็บคอ
สกุล Schizaea Sm. คล้ายกับสกุลตานทราย Actinostachys ที่ใบออกเดี่ยว ๆ คล้ายหญ้า มี 20–21 ชนิด ในไทยมีชนิดเดียว ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “schizae” แยก ตามลักษณะใบที่แตกกิ่ง
| ชื่อพ้อง Acrostichum dichotomum L.
| | | ชื่ออื่น ตานกล่อม, ตานซ่าน (ชุมพร); ตานพร้าว, ว่านดอกดิน (สุราษฎร์ธานี)
| | ตานซ่าน: เฟินขึ้นบนดิน ใบแตกกิ่งเป็นคู่หลายครั้ง แผ่เป็นรูปพัด อับสปอร์แยกเป็นแฉกรูปร่างคล้ายพัดขนาดเล็ก อับสปอร์เรียงสองแถว (ภาพ: ผาทิพย์ ช่วยเนียม, ปรีชา การะเกตุ)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Lindsay, S. and D.J. Middleton. (2012 onwards). Ferns of Thailand, Laos and Cambodia. http://rbg-web2.rbge.org.uk/thaiferns/ |
| Tagawa, M. and K. Iwatsuki. (1979). Schizaeaceae. In Flora of Thailand Vol. 3(1): 57–58. |
| Xianchun, Z. and J.T. Mickel. (2013). Schizaeaceae. In Flora of China Vol. 2–3: 122. |