| ตะคร้ำ สกุล
| | | วันที่ 31 ตุลาคม 2559 |
| |
ไม้ต้น มีชันใส ส่วนมากมีหูใบและหูใบย่อย ใบประกอบ เรียงเวียน ใบย่อยเรียงตรงข้าม ใบย่อยคู่ล่างมักลดรูป ขอบใบจักฟันเลื่อยหรือจักมน เส้นแขนงใบเรียงจรดกัน ก้านใบย่อยสั้น ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่งเป็นกระจุก ออกก่อนหรือพร้อมผลิใบใหม่ ใบประดับขนาดเล็ก ร่วงเร็ว ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกจำนวนอย่างละ 5 กลีบ ดอกสีเหลืองครีม เกสรเพศผู้ 10 อัน ติดบนจานฐานดอกที่จักเป็นพู 10 พู รังไข่มีก้านสั้น เกสรเพศเมียรูปทรงกระบอก ยอดเกสรเพศเมียจัก 5 พู ผลผนังชั้นในแข็ง มี 1–5 ไพรีน ไพรีนมีเมล็ดเดียว
สกุล Garuga มีประมาณ 90 ชนิด ในไทยมีประมาณ 3 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษาพื้นเมืองเตลูกูในอินเดีย “garugu” ที่ใช้เรียกตะคร้ำ
| | | | | | |
|
เอกสารอ้างอิง | Leenhouts, P.W. (1956). Burseraceae. In Flora Malesiana Vol. 5: 215–218. |
| Peng, H. and M. Thulin. (2008). Burseraceae (Garuga). In Flora of China Vol. 11: 107–108. |
| Pooma, R. (1999). A preliminary account of Burseraceae in Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 27: 57–58. |