Index to botanical names
Euphorbiaceae
ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 2 ม. ใบรูปไข่หรือรูปขอบขนาน บางครั้งจัก 3–5 พูตื้น ๆ ยาว 8–20 ซม. โคนมักกลม ช่อดอกเพศผู้ยาวได้ถึง 15 ซม. ช่อดอกเพศเมียสั้น ยาวไม่เกิน 1 ซม. ดอกเพศผู้ก้านดอกยาวได้ถึง 1.2 ซม. กลีบเลี้ยงรูปไข่ ยาวประมาณ 1.5 มม. จานฐานดอกรูปถ้วยคล้ายวงแหวน เกสรเพศผู้ 10–12 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1 มม. ดอกเพศเมียก้านดอกยาว 0.2–1 ซม. กลีบเลี้ยงรูปไข่สามเหลี่ยม ยาว 1–2 มม. มีขนด้านนอก รังไข่มีขน ก้านเกสรเพศเมียยาว 1.5–3 มม. ผลห้อยลง กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8–1.3 ซม. กลีบเลี้ยงติดทน ยาว 3–5 มม. เมล็ดขนาดประมาณ 3 มม. สีน้ำตาลพบที่อินเดีย ภูฏาน เนปาล ศรีลังกา บังกลาเทศ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามชายป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 900 เมตร เมล็ดมีสรรพคุณบำรุงร่างกาย ใช้แทนสลอด Croton tiglium L. น้ำมันจากเมล็ดทำให้ระคายเคือง
ชื่อพ้อง Croton solanifolius Burm.
ชื่ออื่น ตองแต่ (ประจวบคีรีขันธ์); ตองแตก, ถ่อนดี, ทนดี (ตรัง, ภาคกลาง); โทะโคละ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); นองป้อม (เลย); พอบอเจ๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ลองปอม (เลย)
ตองแตก: ใบรูปไข่หรือรูปขอบขนาน จัก 3–5 พูตื้น ๆ ผลห้อยลง กลม มี 3 พู กลีบเลี้ยงและเกสรเพศเมียติดทน (ภาพ: ราชันย์ ภ่มา)
Phattarahirankanok, K. and K. Chayamarit. (2005). Euphorbiaceae (Baliospermum). In Flora of Thailand Vol. 8(1): 120–123.